การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารองค์กร

ผู้แต่ง

  • พูลศักดิ์ พรมมน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ยิ่งสรรค์ หาพา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม; คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร; การพัฒนาผู้บริหารองค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ได้ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เห็นว่ามีส่วนช่วยหรือเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารองค์กร หลักธรรม นั้นคือ ปาปณิกธรรม 3 กัลยาณมิตรธรรม 3 สัปปุริสธรรม 7 และพรหมวิหาร 4 ผู้บริหารองค์กรหากมีหลักธรรมเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีศักยภาพในการที่จะสร้างสรรค์และธำรงรักษาสังคมไว้ ถือว่าได้พัฒนาตนที่แสดงออกหรือปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างถูกต้องและมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร จากการศึกษาเอกสาร แนวคิดที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้า ด้านความรู้ และข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เกิดจากวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ทำให้สังคมมีความขับช้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดปัญหาน้อยใหญ่ตามมา ผู้ที่จะดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและสร้างสรรค์สังคมได้ต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มีทักษะชีวิตที่เหมาะสม เมื่อมีทักษะที่เหมาะสมแล้ว ย่อมมีองค์กรต่างๆ ที่จะทำหน้าที่สนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่วางแผน สั่งการ และประเมินแผน เรียกว่าผู้บริหารองค์กรมีความสำคัญมากทั้งในแง่การบริหารงาน คือ มีการวางแผนการทำงาน การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผล โดยมีความแตกต่างกันไปตามภาวะผู้บริหารแต่ละบุคคล แต่สิ่งที่จะแสดงถึงภาวะผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามหลักธรรมอันนำไปประยุกต์ให้เกิดผล มิใช่เพียงสร้างความมั่นคงกับฐานอำนาจหรือตำแหน่ง สถานะ เท่านั้น แต่จะต้องมีแก่นแท้ของหลักธรรมซึ่งแสดงให้เห็นภาวะของผู้บริหาร ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ฉลาด รอบรู้ มีความมุ่งหมายในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมและองค์กร

References

นิสนัย พลธรรม. (2561). จริยธรรมกับการพัฒนาองค์กร: Ethics And Organizational Development. Journal of Modern Learning Development, 3(1).

ราเชนทร์ พิพัฒนกุล. จริยธรรมกับการบริหารงาน: Ethics and Management.วารสารปรัชญาปริทรรศน์ Journal of Philosophical Vision, 24(2).

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

Chayawatana, K. (2011). People and Work Management by the Buddha's Method. fine print printing.

Glunprasert, S. (2010). Leadership in management. By applying the principle of Sappurisadhamma 7 : a case study of True Corporation Public Company Limited. Master's thesis Master of Buddhism. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University.. (1996). Thai Tripitaka Mahachulalongkornrajavidyalaya edition. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phanthumnawin, D. (1981). Ethical Psychology and Language Psychology. Thai Wattana Panich.

Phra Dharmma kosajarn (Prayoon Dhammachitto. (2006). Buddhist methods of administration. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Dharmma Pitaka (Prayut Payutto). (2001). Leader. (6th ed.). Matichon Printing House.

Phrakru Wisut Thirakhun (Thira Jittawisutthi). (2011). Human Resource Development According to the Three Sikkha Principles of Buddhist Schools. in Kamphaeng Saen District Nakhon Pathom Province. Master's thesis Master of Buddhism. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Rajavaramuni (Prayut Payutto). (1987). Buddha's teaching techniques. Amarin Printing Group.

Phra Rajavaramuni (Prayut Payutto). (2000). Buddhist dictionary Dharma edition. (9th ed.). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sihamampai, P. (2000). The basics of religious and ethical education. Chulalongkorn University.

Thongyoi, O., Phra Maha Suphot Sumetho, & Somkhaoyai, T. (2017). Dharma-based leadership of school administrators affecting the performance quality of teachers in educational opportunity expansion schools. Under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Education Service Area 4. Journal of Buddhist Social Sciences and Anthropology, 2(2), 29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31