แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • บัวแก้ว เก่งตรง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ การปฏิบัติงาน ข้าราชการตำรวจ ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

  บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 2. วิเคราะห์แรงจูงใจของข้าราชการตำรวจ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล และ 3. เสนอแนวทางประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดสำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้แนวคิดและทฤษฎีของ Federick Herzberg; Bedeian & Zammuto; Campbell; Campbell; Millett; สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการตำรวจสังกัดสำนักงานส่งกำลังบำรุง จำนวน 427 คน นำมาคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเปิดตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ไ
ด้ จำนวน 201 คน สัมภาษณ์ ข้าราชการตำรวจ จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่
แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดหาและจัดสรรทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านความสามารถในการสร้างความพึงพอใจ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ และด้านการบรรลุเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการวิเคราะห์แรงจูงใจของข้าราชการตำรวจพบว่า ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านลักษณะงานที่ทำ และด้านความรับผิดชอบ ร่วมกันอธิบายประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 57.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3. แนวทางประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ผู้บริหารต้องให้ข้าราชการตำรวจมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงาน เป้าหมาย การบริหารงานต้องเกิดความยุติธรรมและโปร่งใส 

 

References

จิราภรณ์ หวังพิทักษ์. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุราษฏร์ธานี. ใน การศึกษาอิสระการจัดการมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ประเสริฐ เกสรมาลา. (2558). ตำรวจและสังคมเสริมประสบการณ์. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล.

พัชรินทร์ ผิวนิล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทา งานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทไฮเออร์ อิเลคทริค (ประเทศไทย) จากัด (มหาชน). ในวิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรากร สังข์วงษา. (2553). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การด้านงานผังเมือง : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. ใน วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). การใช้ระบบการประเมินผลงานและระบบการให้รางวัล. เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2565 จาก https://www.opdc.go.th/

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). บทบาทหน้าที่ของตำรวจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.royalthaipolice.go.th/

_______. (2558). สำนักงานส่งกำลังบำรุง. [เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2565 จาก http://royalthaipolice.go.th/agencies_under.php

_______. (2560). วิสัยทัศน์ (Vision). เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2565 จาก http://royalthaipolice.go.th/index.php

Anthony, Dume. (2006). Anthony Dume Obituary. Retrieved 12 April 2022 from https://www.legacy.com/us/obituaries/heraldtribune/name/anthony-dume-obituary?pid=86247761

Campbell, J. P. (1977). On the Nature of Organizational Effectiveness. In Goodman, P. S., Pennings,J. M., & associates. New Perspective on organizational effectiveness. San Francisco: Jossey-Bass.

Zamuto, R. F. (1982). Assessing Organizational Effectivenes, System Change, Adaptation and Strategy. Albany : State University of New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31