กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์สู่การปฏิบัติที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ, การบริหารกิจการคณะสงฆ์, หลักธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 2. วิเคราะห์กลยุทธ์การนำนโยบาย ที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และ
3.เสนอแนวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในอำเภอวัดสิงห์ ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้แนวคิดของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปี 2542 ประชากรได้แก่ พระภิกษุ จำนวน 250 รูป นำมาคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างเปิดตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้ จำนวน 152 คน สัมภาษณ์ เจ้าอาวาสรองเจ้าอาวาสและพระสงฆ์ จำนวน 15 รูป เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ด้านหลักการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความโปร่งใส และ ด้านหลักนิติธรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการวิเคราะห์กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์ พบว่า ปัจจัยด้านการปกครอง ด้านการศึกษาสงเคราะห์และ ด้านการสาธารณูปการ ร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ได้ ร้อยละ 89.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3. แนวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในอำเภอวัดสิงห์ ต้องจัดโครงการพัฒนาความรู้ ทักษะผู้บริหารให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ต้องยึดหลักความเสมอภาค มีความยุติธรรม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน
References
ธนกฤต โพธิ์เงิน (2556).ปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลมีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี. ใน ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
เบญจ์ พรพลธรรม. (2553). การจัดการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมในบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พรตลอดปี ชีวิตดีตลอดไป. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.
______. (2543ก). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรานิษฐ์ สุครีวานัด. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลเสนา อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน ค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2544). บทบาทพระสงฆ์ : ผู้นำสังคมในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัดทรงเสวย. (2563). ประชุมการเผยแผ่ฯ ขยายผลขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. เรียกใช้เมื่อ 11 ตุลาคม 2565 จาก https://www.wat3579.com/news/news/detail/var/84o274
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยนาท. (2565). พระภิกษุที่มีสังกัดวัดในพื้นที่เขตการปกครองคณะสงฆ์ในอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท (มหานิกาย). เรียกใช้เมื่อ 11 ตุลาคม 2565 จาก https://cnt.onab.go.th/th/content/page/index/id/5286
เสกสรรค์ นิสัยกล้า. (2550). การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. ใน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.