การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสหัสขันธ์ก้าวหน้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปัทมา สันประเภท โรงเรียนสหัสขันธ์วิทยาคม
  • สุรางคนา มัณยานนท์ โรงเรียนสหัสขันธ์วิทยาคม

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนกลุ่มเครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษาสหัสขันธ์ก้าวหน้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษาสหัสขันธ์ก้าวหน้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1  2. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสหัสขันธ์ก้าวหน้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สหัสขันธ์ก้าวหน้า จำนวน 14 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  14 คนและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา จำนวน 80 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (ตามเกณฑ์คุณสมบัติเป็นครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย) เปิดตาราง Krejcie&Morgan (1970) สุ่มแบบหลายขั้นตอนประกอบด้วย สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสหัสขันธ์ก้าวหน้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.62) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ1)ด้านการบริหารงานทั่วไป ( = 4.65, S.D.= 0.58)
2) ด้านการบริหารงานวิชาการ  ( =4.64, S.D.= 0.59) 3)ด้านการบริหารงานงบประมาณ      ( = 4.56 , S.D.= 0.62) 4)ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการบริหารงานบุคคล ( = 4.48 , S.D.= 0.68)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของ โรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐพร เอี่ยมหรุ่น. (2561). "การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ คุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8." วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐสรณ์ เกตุประภากร. (2564). วัฒนธรรมองค์กรยั่งยืนกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

ทองดี พิมพ์สาลี. (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนายูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล ภิรมย์. (2562). การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. ใน งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิภาพร กลิ่นเกตุ. (2557). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2561). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. ใน หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาศาส์น.

พิชญาดา สิงหเลิศ. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียนในสหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พินิจ เครือเหลา. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม. ใน ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการนบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทราภรณ์ แก้วสอน. (2563). การบริหารโรงเรียขนาดใหญ่ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

มัลลิกา สีดาเดช.(2563). ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมร ภูมิอ่อนอุ่น. (2561). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษาเขต 38. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 9-12 พ.ศ. 2540-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2556). คู่มือตัวอย่างความสำเร็จ การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทองค์กรภาครัฐในส่วนภูมิภาค. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่.

อภิชัย พันธเสน. (2560). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร:กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรุณรัตน์ เนืองแก้ว. (2564). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มโรงเรียนบ้านดุง 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. ในสารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31