การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงษ์ มาประเสริฐ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุชาต อดุลย์บุตร มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การพัฒนาชุมชน, เทศบาลตำบลบางเก่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน และ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบางเก่า จำนวน 370 คน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคลด้านอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านผลประโยชน์จากการเข้าร่วม ด้านความผูกพันกับท้องถิ่น ด้านความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนด้านอิทธิพลของผู้นำ
มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน พบว่า เทศบาลควรมีโยบายและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของการปฏิบัติงานในกิจกรรม/โครงการต่างๆ

References

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). การมีสวนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ธนวุฒิ บัวคลี่. (2564). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นงนุช ยาบุญนะ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2557-2559) ของเทศบาลตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 147-162.

สุชาติ พริกเล็ก ไพรัตน์ ฉิมหาด และเดโช แขน้ำแก้ว. (2565). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(4), 436-452.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2566 จาก nesdc.go.th

เสาวภา สินสุภา. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการการเมืองการปกครองและท้องถิ่น, 1(1), 1-8.

อิสรา หงษชุม และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสถาบันพิมลธรรม, 10(1), 99-100.

Cohen J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation : concept and measure for project design. implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore: Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31