ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ศิวะลักษณ์ มหาชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ศตวรรษที่21

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นศตวรรษที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัล
การเปลี่ยนแปลงในสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา  จึงกล่าวได้ว่าการใช้ทักษะที่เหมาะสม การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ  และสิ่งสำคัญในการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21นั้นก็คือผู้บริหาร หรือผู้นำ  การที่องค์กรจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้นําในองค์กรนั้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะผู้นําที่ดีจะพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้นได้ดี เมื่อผู้นำดี บุคลากรดี ก็จะทำให้งานสำเร็จในทุกด้านรวมทั้งการจัดการศึกษาด้วยเช่นกัน

              ดังนั้นการศึกษาเรื่องทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้นักบริหารนำมาจัดการศึกษาในศตวรรษที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยี สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมให้สำเร็จตามเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร  ผู้เขียนบทความจึงได้ศึกษาเอกสารต่างๆและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  และได้ทำการสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่21 ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ทักษะความร่วมมือและทำงานเป็นทีม 2) เทคโนโลยีและการสื่อสาร 3) มีวิสัยทัศน์  4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) มีภาวะผู้นำและ ความกล้าหาญในการแก้ปัญหา 6) การสร้างฉันทามติและการจูงใจ

References

จิรพล สังข์โพธิ์ และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองใบ สุดชารี. (2550). ภาวะผู้นํา : กลไกขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

เลอศักดิ์ ตามา. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 224-240.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2557). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. เรียกใช้เมื่อวันที่17 มกราคม 2557 จาก http://www.supalta.haysamy. com/leader _pro.html.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช.(2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

Telfotd, H. (1996). Transforming Schools through Collaborative Leadership, London; Falmer Press.

Greenleaf. (1995). R Renections on Leadership. New York: John Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31