แดงโมเดล : รูปแบบการพัฒนาเมืองขยะเป็นศูนย์ แนวพุทธบูรณาการของวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • คีตา องอาจ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระเจริญพงษ์ วิชัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาพุทธิวงศ์ สุวรรณรัตน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

1. โมเดล, 2. ขยะเป็นศูนย์, 3. พุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของวัดจากแดง 2) เพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองขยะเป็นศูนย์ แนวพุทธบูรณาการ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาเมืองขยะเป็นศูนย์ แนวพุทธบูรณาการ การวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกคณะทำงานสิ่งแวดล้อมวัดจากแดง และผู้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะเป็นศูนย์ร่วมกับวัดจากแดง และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อขยายเครือข่าย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาเมืองขยะเป็นศูนย์ แนวพุทธบูรณาการของวัดจากแดง

ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการจัดการขยะเป็นศูนย์ของวัดจากแดง มุ่งเน้นการนำขยะประเภทพลาสติกมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น จีวรจากขวดพลาสติก PET 2) การจัดกิจกรรมพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น  ฐานการเรียนรู้เพื่อการจัดการกับขยะที่สามารถลดปริมาณขยะเป็นศูนย์ การสร้างคนสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละชุมชน การสร้างทีมปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชน และการกำหนดพื้นที่คัดแยกขยะในสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อขยายเครือข่าย ส่งผลให้เกิดการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง และลดขยะต้นทางได้อย่างยั่งยืน3) ดำเนินงานภายใต้รูปแบบ "CHAK DAENG MODEL" จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โพธิ์สิกขาสิ่งแวดล้อม วัดจากแดง สร้างระบบให้เกิดการทำงานอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านอาคารสถานที่ หลักสูตรการเรียนการสอน บุคลากร การเงิน การประชาสัมพันธ์ และพัฒนาการมีส่วนร่วมกับชุมชนอื่น เพื่อขยายรูปแบบนี้ไปในวงกว้าง สามารถจัดการขยะเป็นศูนย์ได้อย่างยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2550). คู่มือประชาชน เพื่อการลด คัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด กชกร พับลิชชิง.

จันทร์เพ็ญ มีนคร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัยณรงค์ ขาวเงิน. (2564). การจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชนตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(3).

ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2564) นวัตกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารลวะศรี, 5(2).

สยาม อรุณศรีมรกต และยงยุทธ วัชรดุล. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3).

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

เสน่ห์ จามริก. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). Nation Strategy 2018-2037. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อัลวิล ทอฟฟเลอร์. สงครามและสันติภาพแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด.

อำพล เสนาณรงค์. (2558). “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31