การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อ ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การลดความเหลื่อมล้ำ, กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ, ความเหลื่อมล้ำทางสังคมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่ม กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ 2) เพื่อศึกษามูลเหตุที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง สังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการลดความ เหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 28 คน โดยใช้พื้นที่หมู่บ้านกลุ่มชาติ พันธุ์ไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาว่าเกิดข้อจำกัดของการเข้าถึงบริการทางสังคมในการให้บริการประชาชนนั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง 2) มูลเหตุที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม คือ 1. ด้านรายได้ เกิดจากการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน 2. ด้านการถือครองทรัพย์สิน เกิดจากการขาดสิทธิ์ครอบครองที่ดินเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต เนื่องจากแหล่งพื้นที่อาศัย และพื้นที่ทำกินของ ส่วนมากอยู่ในเขตพื้นที่ป่าทำให้ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ 3. ด้านการเข้าถึงบริการทางสังคม และโครงสร้างพื้นฐาน 3) แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม คือ 1. ด้านรายได้ 2. ด้านการถือครองทรัพย์สิน 3. ด้านการเข้าถึงบริการทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน 4. ด้านการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ 5. ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน 6. ด้านการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต 7. ความเหลื่อมล้ำทางเพศ 8. ด้านการแสดงความคิดเห็น
References
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีพ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์, (2553). กรุงแตกพระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร, (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติของการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 2564. (2560). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2556). การทำวิจัยทางสังคม: หลักการ วิธีปฏิบัติและสถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: Come In.
มัลลิกา บุนนาค, (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
วินิจ ล้ำเหลือ, (2546). กลไกการคุ้มครองสิทธิของคนไร้สัญชาติในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณี การถอดถอนสัญชาติจากนัยการถอนชื่อชาวบ้านออกจากทะเบียนราษฎร อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเอเชีย. (2556). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมภายใต้โครงการบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.