การบูรณาการหลักเบญจศีลและเบญจธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกัน ของเยาวชนในยุคโลกาภิวัตน์

ผู้แต่ง

  • พระเดชาธร จารุธมฺโม (พรหมเอียด) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • พระอภิสิทธิ์ อภิชาโต (แซ่จ้อง) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • ปุณยนุช ณ รักษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • บวรชัยวัฒน์ (วันชัย เลือดไทย) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช

คำสำคัญ:

เบญจศีลเบญจธรรม, ขัดเกลาพฤติกรรม, การอยู่ร่วมกันกับสังคมยุคโลกาภิวัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อเยาวชนไทยในปัจจุบัน  โดยเฉพาะในแง่ลบ และเสนอแนวทางการบูรณาการหลักเบญจศีลและเบญจธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ บริบทของยุคโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อทุกแง่มุมของชีวิต เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว การสื่อสารที่ไร้พรมแดน ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมและค่านิยมของเยาวชน เยาวชนบางกลุ่มเผชิญกับผลกระทบในเชิงลบ เช่น การติดเทคโนโลยี การกลั่นแกล้งออนไลน์ การรับข้อมูลเท็จ ขาดทักษะการเข้าสังคม หลักเบญจศีลและเบญจธรรมเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางเยาวชนให้ประพฤติดี ละเว้นจากความชั่ว ส่งเสริมให้มีเมตตา กรุณา อหิงสา เสียสละ และสัจจะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกตน เช่น พระสงฆ์ นักโยคะ นักสมาธิ สามารถเป็นต้นแบบ เป็นผู้นำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคการฝึกฝน ช่วยให้เยาวชนพัฒนาตนเองทั้งกายและใจ ประโยชน์ของการบูรณาการเบญจศีลเบญจธรรมผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกตน ส่งผลดีต่อเยาวชนใน 3 ด้านหลัก ดังนี้ 1) สันติสุข เยาวชนมีจิตใจสงบ เข้าใจผู้อื่น ลดความขัดแย้ง 2) ความเจริญก้าวหน้า เยาวชนมีสติ มีสมาธิ จดจ่อกับการเรียน ทำงาน 3) ความสามัคคี เยาวชนมีเมตตา กรุณา เสียสละ ร่วมมือ สามัคคีกัน สถาบันการศึกษาเป็นช่องทางสำคัญในการปลูกฝังเบญจศีลเบญจธรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมการฝึกตน เชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย อนาคตที่สดใสของเยาวชนที่มีคุณธรรมจริยธรรมย่อมนำไปสู่สังคมที่สงบสุข เจริญก้าวหน้า มีความสามัคคี  ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกตนเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาเยาวชน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมยุคโลกาภิวัตน์

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่ม 11. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 83-102.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 25. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 85-88.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2555). การประฌมินนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

อานันท์ ปันยารชุน. (2541). คนดีที่สังคมต้องการ. กรุงเทพมหานคร: แสงกาวการพิมพ์.

พระครูบวรชัยวัฒน์. (2565). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเชิงพุทธ. มหาจุฬานาครทรรศน, 9(7), 177-190.

สังข์ขาล เสริมแก้ว. (2563). จริยธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม. มจร.ปรัชญาปริทรรศน์, 3(1), 105.

ดีเอม, เพ็ญนภา ลายน้า เงิน และไกรวิชญ์. (2559). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. การประชุมวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์ วิจัยครั้งที่ 1, 11(33).

วาสนา พิทักษ์ธรรม. (2559). สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC. RTUNG 2016 The 1 st National Conference . อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี, 231.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). เล่าสู่กันฟัง เบญจศีล เญจธรรม. เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2567 จาก https://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5431&filename=i

คณะสงฆ์. (2560). พระไตรปิฎกเล่มที่ 19 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 11 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค. 84000.org. เข้าถึงเมื่อ 12 มิถุนายน 2567 จากhttps://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6141&Z=6257

คมชัดลึก. (12 กันยายน 2566). ชีวิตดีสังคมดี - คุณภาพชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 27 กันยายน 2566 จาก https://www.komchadluek.net/quality-life/well-being/558375

ประชาไท. (26 กันยายน 2566). เผยเด็กไทยเจอบูลลี่ 'ล้อเลียนหน้าตา ตอกย้ำปมด้อย ด่าทอ ทำร้ายร่างกาย. เรียกใช้เมื่อ 27 กันยายน 2566 จาก https://prachatai.com/journal/2023/09/106088

เมธา หริมเทพาธิป. (2565). การขัดเกลาทางสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. เรียกใช้เมื่อ 27 กันยายน 2566 จาก https://www.gotoknow.org/posts/710687.

พนม เกตุมาน. (21 พฤษภาคม 2550). พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. บริษัทคลีนิค จิตประสาท. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2567 จาก https://www.psyclin.co.th/new_page_78.htm

พุทธทาสภิกขุ. (2566). You Tube. Jiab007: ไตรสิกขา. เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567 จาก https://www.youtube.com/watch?v=i44erwCB2EY

วสุนธรา (สลธ.). (2559). หลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good governance. เรียกใช้เมื่อ 27 กันยายน 2566 จาก https://medium.com/@Pae/https://medium.com/@Pae/หลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี-good-governance-7d103e5d7d48.

สกลพร ขจรศิลป์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมมารยาทไทยของเยาวชน. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2567 จาก วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/247697

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). พฤติกรรมเสี่ยงเยาวชน ในและนอกสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 24 กันยายน 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th/พฤติกรรมเสี่ยงเยาวชน-ใน/.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2566). สสส. หนุน สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยประกาศขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนักเรียน. เรียกใช้เมื่อ 27 กันยายน 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th/พฤติกรรมเสี่ยงเยาวชน-ใน/.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2566 จาก https://dictionary.orst.go.th/index.php.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานสถิติรายปี ประเทศไทย 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/public/e-book/Statistical-Yearbook/SYB-2023/518/index.html

โสมประภัสร์ ขันธ์สุวรรณ. (2562). หมาอยู่วัด. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2567 จาก Google Books: google.co.th/books/edition/หมา_อยู่_ ด_ช/Cur_CgAAQBAJ?hl=th&gbpv=0

United States of America, Department of State. (2563). รายงานว่าด้วยเสรีภาพทางศาสนานานาชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 24 กันยายน 2566 จาก https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/official-reports-th/2020-international-religious-freedom-report-thailand-th/.

wiani snoechit. (2557). เบญจศีล เบญจธรรม. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2566 จาก http://winaisnoechit.blogspot.com/2014/12/1.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30