แรงจูงใจการเข้ารับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ของพระสงฆ์

ผู้แต่ง

  • เชาว์ เอื้อเฟื้อ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี ศรีไพบูลย์
  • ไชยนันท์ ปัญญาศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี ศรีไพบูลย์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การศึกษาต่อ, อุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยสงฆ์, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

            การศึกษานับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเปิดโอกาสให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภารกิจมากมายในแต่ละวัน จึงส่งผลให้มีเวลาในการที่จะพิจารณาในการที่จะเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนั้น การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพระสงฆ์จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยแรงจูงใจในการเข้ารับการศึกษาต่อที่ดี

            บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจการเข้ารับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพระสงฆ์ พร้อมนำเสนอแนวคิด วิธีการ และแนวทางในการสร้างแรงจูงใจการเข้ารับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพระสงฆ์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านมุมมองตามแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจในการศึกษาต่อ และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาของพระสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์ที่กำลังจะตัดสินใจเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ สามารถนำไปเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้พระสงฆ์มีความมานะพยายาม มีความอดทนเพื่อเอาชนะอุปสรรค และเพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตนตั้งเอาไว้

            จากการศึกษาพบว่า การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของพระสงฆ์จำเป็นที่จะต้องอาศัยแรงจูงใจในการเข้ารับการศึกษาต่อที่ดี ซึ่งก็คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เพราะแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะส่งผลและมีอิทธิพลโดยตรงต่อพระสงฆ์ให้เกิดความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่ขัดขวางใดๆ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

References

กุทัย หาระพันธ์. (2555). การใช้สารสนเทศของพระนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธวัชชัย แก้วสิงห์. (2560). อัตลักษณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ (ดวงชัย), (2558). การอุดมศึกษา : การศึกษาเพื่อประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/273.

พระอาโซ เสี่ยกัง (มาเยอะ). (2562). รูปแบบแรงจูงใจในการศึกษาต่อสำหรับเยาวชนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 180-196.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto). (2564). สถาบันสงฆ์ในสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/424/2.

อุทัย มณี (เปรียญ). (2562). ธุระของ “พระภิกษุในพระพุทธศาสนา”. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/602096.

อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย. (2556). แรงจูงใจในการเขาศึกษาต่อของนักศึกษาคณะศิลปะศาสตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. งานวิจัยคณะศิลปะศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2544). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.

Herzberg, F. (1959). Federick; Mausner, Bernard; and Synderman, Block the Motivation to Work. New York: John Willey.

McClelland, D.C. (1985). Human motivation. Chicago: Scott, Foresman.

National Institute for Adult Education (NIAE). (1971). The Year Book of Adult Education. London: Author. New York: MeGraw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29