การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับชาวบ้านที่ผลิตภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม จังหวัดสกลนคร โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุริยะ ประทุมรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ, ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองในการพูดภาษาอังกฤษให้กับชาวบ้านที่ผลิตภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของชาวบ้านที่ผลิตภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของชาวบ้านที่ผลิตภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวบ้านที่ผลิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าย้อมคราม จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ CBL 2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3. แบบทดสอบย่อย 4. แบบประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ 5. แบบประเมินความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ สอบถามความคิดเห็นต่อการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                            

            ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อชาวบ้านได้ผ่านกระบวนการการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานได้คะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบย่อยเท่ากับ 77.77 คิดเป็นร้อยละ 77.77 แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 77.77 2. ชาวบ้านมีความความมั่นใจในตนเองในการพูดภาษาอังกฤษในระดับสูง 3. ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานพบว่าด้านเนื้อหาบทเรียนมีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านเทคนิคการสอนแบบ CBL มีความเหมาะในระดับมาก ด้านสื่อการเรียนการสอนมีความเหมาะในระดับมากที่สุด ด้านตัวผู้สอนมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ด้านเวลาที่สอนมีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมและสถานที่มีความเหมาะสมในระดับมาก และในภาพรวม การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานมีความเหมาะสมในระดับมาก 4. ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.9, S.D. = 11.8) และมีความพึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ

References

บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์. (2558). ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ. เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2566 จาก http://www.edu.nu.ac.th/researches/admin/upload/460311011114853is.pdf

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). ความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ. เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2566 จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789

วันทนีย์ กองเขียว. (2552). รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในหอฝิ่น สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2557). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2566 จาก https://www.hu.ac.th/Conference/conference2022

ลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การวิจัยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ขอนแก่น : วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 141- 148.

วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity Based Learning (CBL). กรุงเทพมหานคร: วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.

อนรรฆ สมพงษ์ และลดาวัลย์ มะลิไทย. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Canale & Swain (1980). From communicative competence to communicative language Pedagogy. In J.C. Richard, & Richards & Schmidt R.W. (Eds.), Language and communication. (pp. 2-27). London: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29