ปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการปฏิบัติงานของครู กรณีศึกษา: ครูผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ภาวัช ตีรลานนท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พีรเดช ประคองพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อมราพร สุรการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, กรณีศึกษา, โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(ครูคืนถิ่น), ปัจจัยด้านแรงจูงใจและปัจจัยด้านสุขอนามัย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการปฏิบัติงานของครูผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(ครูคืนถิ่น) และเพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้คุณครูเกิดการปฏิบัติงาน ไม่ตัดสินใจลาออกจากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ครูคืนถิ่น) และไม่ทำการโยกย้ายหรือลาออกจากโรงเรียนที่ตนบรรจุราชการครู แม้ว่าคุณครูได้บรรจุข้าราชการครบกำหนดเงื่อนไขของโครงการฯ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่าห้าปี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือคุณครูผู้เข้าร่วมโครงการครูคืนถิ่น บรรจุราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้มาจากการเลือกในรูปแบบเฉพาะเจาะจงที่ผ่านเกณฑ์ตามกำหนดไว้จำนวน 12 คน การศึกษาใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ตัวผู้วิจัยเอง เอกสารที่เกี่ยวข้อง และแนวคำถามสัมภาษณ์รูปแบบกึ่งโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ ได้แก่ การสอนหนังสือ ระบบดูแล สนับสนุนและพัฒนานักเรียน การบริหารองค์กร: รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน 2) การปฏิบัติงานนอกเหนือบทบาทหน้าที่ ได้แก่ การมีความกระตือรือร้นและเป็นอาสาสมัคร การปฏิบัติตามกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติขององค์กร การให้ความร่วมมือสนับสนุนตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และ 3) การปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับชุมชนเป็นกิจกรรมการทำงานที่ผ่านความเชื่อ ศาสนาและวัฒนธรรมโดยคำนึงนักเรียนเป็นหลัก และปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้ครูเกิดการปฏิบัติงานโดยไม่ตัดสินใจลาออกจากโครงการฯ และหน่วยงานที่ตนอยู่ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ได้แก่ ลักษณะของงานที่ทำ การได้รับการยอมรับ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และ 2) ปัจจัยด้านสุขอนามัย/ปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ นโยบายองค์กร ความสัมพันธ์กับคนในองค์กร สภาพการทำงาน และค่าตอบแทนและเงินเดือน

 

References

กวีศุภณิฐ วิกรมวยากรม. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาผลการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาที่ใช้การปฏิบัติงานตามแนวทาง PDCA และการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถร่วมของกลุ่มเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนาทิป ทุ้ยแป. (2551). การพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติกาญจน์ คงชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 351-364.

ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2558). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 23-33.

ธนพรรธ อนุเวช. (2564). แนวทางการสร้งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 185-198.

ธิตติยพัทย์ อยู่จิตร์. (2558). การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ. ศ. 2556. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัลลภ จิระโร. (2563). แรงจูงใจในการทํางานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร. วารสารการวัดและประเมินผล สถิติและการการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 1(2), 33-44.

ยุวรี ผลพันธิน. (2555). บทบาทการส่งผ่านของความเชื่อในประสิทธิภาพของตน ความเหนื่อยหน่ายและความพึงพอใจงาน ในโมเดลผลการปฏิบัติงานของครู. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved from http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1502.

รัชนีวรรณ เทียนทอง. (2557). การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนไทยกับครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved from http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1310.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2558). ปัญหาการศึกษาไทย: การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 48-55.

ศศินันท์ ฮะสม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสมุทธสาครวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยหอการค้า.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559 – 2572). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุนทรี ศรีศักดิ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีเป็นตัวแปรคั่นกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 125-143.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 93-102.

Campbell, J. P. (1990). Modeling the performance prediction problem in industrial and organizational psychology. In Handbook of industrial and organizational psychology, 1,(2),687-732.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons. In.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30