คติความเชื่อการสร้างรูปสลักศิลาตอนปฐมเทศนา พุทธประติมากรรมยุคทวารวดี

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศาลบุญญากร (เฟื่อง สมบูญบัติ) วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระเจริญพงษ์ วิชัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวา่รวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คติความเชื่อ, ปฐมเทศนา, พุทธศิลปกรรม, ทวารวดี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อการสร้างรูปสลักศิลาตอนปฐมเทศนา พุทธประติมากรรมยุคทวารวดี โดยการศึกษาประวัติความเป็นมาที่แสดงร่องรอยพัฒนาการของงานพุทธศิลปกรรมในอินเดียยุคสมัยต่าง ๆ จากการวิเคราะห์คติความเชื่อการสร้างงานพุทธศิลป์แสดงเรื่องราวพุทธประวัติ นับแต่ในอินเดียยุคแรก เชื่อว่าสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธดำรัสที่ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่สังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นสถานที่ที่พุทธบริษัทผู้มีศรัทธาควรไปดู ประติมากรที่สร้างงานประเภทนี้ในยุคแรก ๆ จึงได้สร้างศิลปวัตถุ ประเภทต่าง ๆ ที่สะท้อนเหตุการณ์ตอนประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน กลายเป็นค่านิยมที่สืบทอดและแพร่ขยายไปยังดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนาประเทศต่าง ๆ สืบมา รูปสลักศิลาตอนแสดงปฐมเทศนา พบที่วัดไทร อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 14 นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า สร้างขึ้นตามคติความเชื่อพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท สะท้อนภาพจากวรรณกรรมที่บันทึกเรื่องราวตอนที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ในแง่ของประโยชน์และคุณค่าของศาสนวัตถุ มองว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อชมศิลปวัตถุ ก็เป็นเสมือนหนึ่งว่านักท่องเที่ยวได้ไปยังสังเวชนียสถาน

References

กรมศิลปากร. (2542). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพมหานคร: บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

ธนิต อยู่โพธิ์. แปล. (2529). นิทานกถา พระพุทธประวัติตอนต้น ฉบับพุทธโฆษะเถระ. กรุงเทพมหานคร: ป.สัมพันธ์พาณิชย์.

นันทนา ชุติวงศ์. (2520). ภาพชาดกที่เจดีย์จุลประโทน. วารสารศิลปากร, 21(4).

ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมา ฝ่ายมหายาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสมัย.

______. (2542). ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสมัย.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2517). พุทธศาสนานิทานที่เจดีย์จุลประโทน. กรุงเทพมหานคร: พระจันทร์.

พุทธทาส อินฺทปญฺโญ. (2543). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. หม่อมเจ้า. (2517). วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี. วารสารโบราณคดี, 5(2)..

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2540). ตำนานพุทธเจดีย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). พระนคร : หจก.ศิวพร.

K. Nariman. (1973). Literary History of Sanskrit Buddhism. India : Indological Book House.

L.A. Museum of Art. (1984). Light of Asia : Lite of Buddha Sakayamuni in Asian Art, Los Angeles: L.A. Museum of Art.

Nariman, J.K. (1973). Literary History of Sanskrit Buddism. Delhi: Indological Book House.

P. Pla, in L.A. Museum of Art.(1984). Light of Asia : Lite of Buddha Sakayamuni in Asian Art Los Angetes.: L.A. Museum of Art.

Parimoo, R. (1982). Life of Buddha in Indian Sculptures. New Delhi: Kanak Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30