ความเครียดของผู้ดูแลคนพิการ: แนวทางการจัดการความเครียดด้วยทักษะทางสังคม

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธร ปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปริญญา ตรีธัญญา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้พิการ, การจัดการความเครียด, ทักษะทางสังคม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีผู้พิการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากทั่วโลกและในประเทศไทย โดยพบผู้พิการอันเนื่องจากความลำบากหรือปัญหาสุขภาพและมีลักษณะความบกพร่องเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งผู้พิการส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวส่งผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด การดูแลผู้พิการจึงต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา ซึ่งการดูแลผู้พิการดังกล่าวจึงเป็นภาระและเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย ใช้เวลามาก ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ บทบาทหน้าที่และปัญหาด้านการเงิน

เมื่อผู้ดูแลเกิดความเครียด ผู้ดูแลจะมีการดูแลตนเองเพื่อจัดการความเครียด การจัดการความเครียดมี 2 แบบคือ การจัดการความเครียดที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา และการจัดการความเครียดที่มุ่งเน้นอารมณ์ ต่างประเทศมีการจัดการความเครียดในผู้ดูแลที่ได้ประสิทธิภาพและมีรูปแบบที่ชัดเจนนั้นคือ การฝึกทักษะสังคมในผู้ดูแลผู้ใหญ่ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์และผู้สูงอายุ โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม การพูดคุย การสะท้อนกลับ รวมทั้งการจัดสถานที่ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน มีผลทำให้ผู้ดูแลมีทักษะทางสังคม และคุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งลดความรู้สึกเป็นภาระได้

ดังนั้นการส่งเสริมทักษะสังคมจำเป็นต้องพัฒนาองค์ประกอบของทักษะสังคมและจะต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมในทุก ๆ ด้านทั้งด้านครอบครัว สังคม และเพื่อน แต่การนำส่งเสริมทักษะทางสังคมมาประยุกต์ใช้ในผู้ดูแลของประเทศไทยอาจพบข้อจำกัดในเรื่องวัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพสังคมเศรษฐกิจที่แตกต่างกับชาติตะวันตก แต่จากการศึกษาการส่งเสริมทักษะทางสังคมในต่างประเทศได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ดูแลอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมีการส่งเสริมทักษะทางสังคมในผู้ดูแลผู้พิการของประเทศไทยเพิ่มขึ้น

References

กัญญา สมบูรณ์. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

กิติกร มีทรัพย์และไพบูลย์ ดวงจันทร์. (2541). พฤติกรรมความเครียดและตอบสนองต่อความเครียด. กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กิตติวัฒน์ อัจนากิตติ. (2554). ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อทักษะทางสังคมของวัยรุ่นตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

กมลรัตน์ ศรีวิเศษ และอัญชลี สารรัตนะ. (2554). การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนออทิสติกในโรงเรียนร่วมระดับปฐมวัยโดยใช้เรื่องราวทางสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(5), 1427-1435.

กรมสุขภาพจิต. (2548). คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ขวัญตา บุญวาศ, ธิดารัตน์ สุภานันท์, อรุณี ชุนหบดี และ นิมัศตูรา แว. (2560). ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 205-215.

จุลมณี สุระโยธิน. ( 2554 ). ผลของการจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันทางอินเตอร์เน็ตด้วยการเขียนสะท้อนคิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชญานิษฎ์ สุระเสนา. (2559). การให้คำปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชื่นชม ชื่อลือชา. (2555). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 12(1), 97 –111.

ชลการ ทรงศรี และณรงค์ จันทร์แก้ว. (2562). ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 27(1), 1-11.

ธรรญชนก ชัยภูมิ. (2564). การศึกษาการจัดการความเครียดในการทำงานของบุคลากรในบริษัทส่งออกแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นุชรี บัวโค. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพเก้า ฉันทสิริกุล และสุปาณี สนธิรัตน์. (2563). รายงานประชุมนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง ทักษะทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกโดดเดี่ยวของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปี ที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปรียาภรณ์ บุญสิทธิ์. (2563). การเสริมสร้างทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยกิจกรรมกลุ่ม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผนึกแก้ว คลังคา. (2564). การพัฒนาโปรแกรมจัดการความเครียดตามหลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับมารดาบิดาผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พิมพ์ ศรีทองคำ. (2557). ความเครียดในการปฏิบัติงาน ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการในบริษัทเอกชนที่นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นแห่งหนึ่ง. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรพรรณ มากบุญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะทางสังคมของเด็กและเยาวชนชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 2 จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 61 ก หน้า 8 (27 กันยายน 2550).

ไพรินทร์ พัสดุ. (2556). ความเครียด การเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลและการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในผู้ป่วยภายหลังบาดเจ็บที่ศีรษะ. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาณุมาศ หอมบุญยงค์. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มณฑา ลิ้มทองกุล และสุภาพ อารีเอื้อ. (2552). แหล่งความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก. วารสารพยาบาลรามา, 15(2), 192-205.

รักเกียรติ จาริก. (2560). ความเครียดของคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง, 63-74.

รุ่งนภา คำไพ. (2564). การพัฒนาทักษะทางสังคม โดยใช้กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 5(2), 127-135.

ลิวรรณ อุนาภิรักษ์. (2547). การพยาบาลผู้สูงอายุ : ปัญหาระบบประสาทและอื่น ๆ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วัจนา ลีละพัฒนะ,และสายพิณ หัตถีรัตน์. (2558). เมื่อผู้ดูแลทำไม่ไหวแล้ว. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/th/article/postgrad/writer23/article_4.

วงศ์สิริ แจ่มฟ้า, ศิริรัตน์ จำปีเรือง และศศิธร ชิดนายี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางสังคม ภาวะซึมเศร้า และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 361-374.

วัชระ หนูมงกุฎ. (2557). ผลของการใช้ชุดภาพร่วมกับการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเพิ่มทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณรัตน์ ลาวัง, รัชนี สรรเสริญ และยุวดี รอดจากภัย. (2548). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณรัตน์ ลาวัง, อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน, จักริน สุขสวัสดิ์ชน และอโนชา ทัศนาธนชัย. (2561). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ‘สมาร์ทการดูแล’ เพื่อสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุดสาคร จำมั่น, นพพร ว่องสิริมาศ และวารีรัตน์ ถาน้อย. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(3), 62-76

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจความพิการ พ.ศ.2565. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2552). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.

องค์การอนามัย. (2538). คู่มือปฏิบัติงานด้านเวชกรรมฟื้นฟูสำหรับแพทย์เกี่ยวกับการป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่มีความพิการ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อังศินันท์ อินทรกําแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1), 135-150.

อัธยา เมิดไธสง. (2557). การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technique) รหัสวิชา ส16101 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม โรงเรียนวังยางวิทยาคารจังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bond A. E., Draeger C. R., Mandleco, B. & Donnelly M. (2003). Needs of family members of patients with severe traumatic brain injury: implication for evidence-based practice. Critical Care Nurse, (23)4, 63-72.

Chris Nijboer, Reike Tempelaar, Mattanja Triemstra, Geertrudis A. M. van den Bos & Robert Sanderman. (2001). The role of social and psychologic resources in caregiving of cancer patients. American Cancer Society, 91(5), 1029-1039.

Flávia Araujo de Amorim, Mariana de Campos Pereira Giorgion & Orestes Vicente Forlenza. (2017). Social skills and well-being among family caregivers to patients with Alzheimer’s disease. Arch Clin Psychiatry, 44(6), 159-161.

Francine Náthalie Ferraresi Rodrigues QueluzI, Elizabeth Joan Barham, Zilda Aparecida Pereira Del Prette & Acácia Aparecida Angeli dos Santos. (2018). Social skills inventory for caregivers of elderly family members (SSI-CE): relations with indicators of psycholgical wellbeing. Archives of Clinical Psychiatry, 26(2), 1010-1020.

Juan C.A.L., Elizabeth N., Teresita V.C., Alison D., Miriam J.M. & Maria L.M.C. (2011). Health–related quality of life incaregivers of individuals with traumaticbrain injury from Guadalajara, Mexico. J Rehabil Med, 43(11), 983–986.

Lawang W., Horey D. E. & Blackford J. (2015). Family caregivers of adult with acquired physical disability: Thai case-control study. International Journal of Nursing Practice, 21(1), 70-77.

Lazarus RS and Folkman S. (1984). Stress appraisal and coping. New York: Springer.

Tsukasaki K., Kido T., Makimoto K., Naganuma R., Ohma M. & Sunaga K. (2006). The impact of sleep interruption on vital measurements and chronic fatigue of female caregivers providing home care in Japan. Nursing and Health Sciences, 8(1), 2-9.

Robinson, Karen Meier. (1988). A social skills training program for adult caregivers. Advance Nursing Science, 10(2), 59-72.

Vicki de Klerk-Rubin. (2021). How Centering Can Improve Your Connection and Communication as a Caregiver. Commonwealth of Virginia: National Council on Aging.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30