สภาพและแนวทางพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ปณณภา วรชนานันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทัศนะ ศรีปัตตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

แนวทางพัฒนา, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้, ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่  1. การศึกษาสภาพความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยใช้แบบสอบถามสภาพความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 130 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 27 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. การศึกษาแนวทางพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพความสามารถในการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
  2. แนวทางพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ได้แก่ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรกำหนดให้มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลด้วย สื่อ เครื่องมือ หรือนวัตกรรมการนิเทศที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาและใช้หลักสูตรสถานศึกษาของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 2) โรงเรียนควรมีการจัดตั้งเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทั้งจากภายในโรงเรียนเดียวกัน ต่างโรงเรียน และต่างเขตพื้นที่การศึกษา 3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการจากครูต้นแบบหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างและเลือกใช้สื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนควรส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของครูผู้สอน และจัดประกวดผลงานวิจัย 5) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดให้มีศูนย์ส่งเสริมและกำกับดูแลความรู้ด้านกฎหมายการศึกษาและระบบการรักษามาตรฐานวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง

References

จิติมา วรรณศรี. (2566). การบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนและสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2558). สภาพ และปัญหาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของโรงเรียนระดับ

มัธยมศึกษา สังกัดเทศบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 270-284.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: เอ็ม ดี ออลกราฟิก.

ธีรศักดิ์ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย. (2563). ความเป็นครู: แนวทางการพัฒนาเชิงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณปรียา ผ่องจิต. (2562). การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพ์พิศา พลอยแหวน. (2554). การศึกษาปัญหาของครูศูนย์การเรียนชุมชนในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มะสานูสี อาลี. (2562). ความต้องการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายมายอพัฒนา จังหวัดปัตตานี. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2564). ภาษากับการสื่อสารมวลชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิทย์ ขาวนอก และคณะ. (2551). ภาษากับการสื่อสาร (Language and Communication).

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). สุโขทัย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

EF Education First. (2022). EF EPI EF English Proficiency Index: A Ranking of 111

Countries And Regions by English skills เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2566 จากhttps://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2022/ef-epi-2022-english.pdf?_ga=2.262942351.200144011.1668764151-1376681897.1668764151&utm_source=(direct)&utm_medium=(none).

Ethnologue. (2023). What are the top 200 most spoken languages? เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2566 จากhttps://www.ethnologue.com/insights/ethnologue200/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30