แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7

ผู้แต่ง

  • วัฒถาภรณ์ กฤตอัครธรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุ่นจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนเฉพาะความพิการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 2) เพื่อร่างแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 และ 3) เพื่อประเมินแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปรึกษาโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 จำนวน 128 คน ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างโดยทำการการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปรึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 ร่างแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบการเสวนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน เฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 พบว่า แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านที่ 2 การคัดกรองนักเรียน ด้านที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านที่ 4 การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน ด้านที่ 5 การส่งต่อ
  3. 3. ผลการประเมินแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 13

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2567 จาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2567 จาก https://www.moe.go.th/พระราชบัญญัติการจัดการ/

ปิยนันท์ พัชรสำราญเดช. (2560). กลยุทธการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

สุรชัย นุ่นเหลือ และคณะ. (2566). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). ผลข้างเคียงยุคดิจิทัล เด็กติดจอกระทบพัฒนาการ. เรียกใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2567 จากhttps://www.thaihealth.or.th/?p=236978/

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2567 จาก https://otepc.go.th/th/otepc09/km-otepc09/item/3003-2547.html/

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2566). คู่มือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มพัฒนาระบบบริหารการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2567 จาก http://special.obec.go.th/page.php/

สุวรรณทนา ชื่นอยู่ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียนเฉพาะความพิการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(5), 219-234.

อภิญญา บุณยเกียรติ. (2563). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารวิจัยวิชาการ, 7(1), 1245-1257.

อารียา ก่อกุศล และคณะ. (2564). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในจังหวัดลพบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28