การบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา : แนวคิดทฤษฎี

ผู้แต่ง

  • พนาวัลย์ คำศรีทวีวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาพิสิฐ วิสิฏฐปญโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระฮอนด้า วาทสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ศิวกร อินภูษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารงานงบประมาณ, ในสถานศึกษา, บริหารงบประมาณ

บทคัดย่อ

สถานศึกษาเป็นองค์กรทางการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตนักเรียน นักศึกษาให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ โดยอาศัยทรัพยากรที่สถานศึกษามีอยู่หรือจัดหาเพิ่มเติมตามศักยภาพและบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ การศึกษาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความหมาย หลักการ แนวคิดทฤษฎี องค์ประกอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบูรณาการมาใช้กับหน่วยงานของผู้ศึกษา สรุปเป็นองค์ข้อความรู้ใหม่ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปปรับใช้ โดยผู้ศึกษาได้ให้ความสนใจศึกษาในประเด็นการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษามุ่งเน้นความเป็นอิสระ ในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากงานบริการมาใช้บริหารจัดการในสถานศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษา และส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยสถานศึกษามีขอบข่ายภารกิจของการบริหารงานงบประมาณดังนี้ การจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้งินและผลการดำเนินงาน การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี การบริหารพัสดุ และสินทรัพย์

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จริยะดา จันทรังษี. (2558). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การจัดทำงบประมาณ. (ม.ป.ท.).

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurlles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มแอนไซเท็กซ์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). การจัดการสมัยใหม่ : Modern managerment. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

ปัญญา ฉายะจินดาวงศ์ และ รัชนี ภู่ตระกูล. (2544). ธรรมาภิบาล (Good Govemance) กับสังคมไทย. วารสารนักบริหาร, 2(1), 28-31.

พิมพา พึ่งบุญพานิชย์. (2544). งบประมาณระบบใหม่กับการวางแผนและควบคุม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 7(2), 19-24.

พูลทรัพย์ ปิยะอนันต์. (2544). การเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการพัฒนาท้องถิ่นตามนโยบายการกระจายอำนาจ. นิตยสารท้องถิ่น, 41(6), 39-47.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2549). เอกสารการสอนชุดวิชาการคลังและงบประมาณ (หน่วยที่ 9-15). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มานพ พราหมณโชติ และคณะ. (2545). หลักการบริหารงบประมาณและการเงินโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วรนุช สาเกผล. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1), 1-12.

สนธิรัตน์ อุ่นใจ. (2547). การศึกษาแนวทางการวางแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขด 1 และเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงบประมาณ. (2562). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณ.

เสาวนิตย์ ชัยมุสิก. (2545). การจัดทแผนยุทธศาสตร์ระดับสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

อมรา รัตตากร และคณะ. (2545). การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถาบันราชภัฏจันทรเกษม. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

อำนวย ทองโปร่ง และ ศิริพงษ์ เศาภายน. (2547). หลักการบริหารงบประมาณและการเงินโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาตะวันออกเฉียงเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30