การบริหารและการเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : กรอบแนวคิดและการพัฒนา

ผู้แต่ง

  • ธเนศ ฉัตรานุฉัตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารและการเรียนรู้นวัตกรรม, เทคโนโลยีสารสนเทศ, กรอบแนวคิดและการ พัฒนา

บทคัดย่อ

สังคมโลกยุคปัจจุบันของประเทศไทยมีการส่งเสริมนโยบายประเทศให้เป็นไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมการเกษตรที่ได้เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมหนักจนกระทั่งเกิดการสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการพัฒนาด้านนวัตกรรมและการพัฒนาพลเมืองให้เกิดเป็นนวัตกร ด้วยแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนี้ การจัดการการศึกษาของคนไทยที่เริ่มตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความจำเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเยาวชนของชาติให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ

          การเรียนรู้นวัตกรรมและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดความผันผวนของสภาวะการณ์ของโลก การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นพัฒนาคนหลายด้านรวมทั้งความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในประเด็นด้านของการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยการพัฒนาทักษะของผู้บริหารและครูผู้สอนในยุคดิจิทัล การจัดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะครูไทยให้มีหลากหลายรูปแบบปรับบริบทตามความเหมาะสมและการเข้าถึงการอบรมพัฒนา และควรพัฒนาความพร้อมด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี

          ดังนั้นสถานศึกษา จัดเป็นสถานที่ในการบ่มเพาะและให้ความรู้กับเยาวชนของชาติ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาจึงต้องเป็นผู้ใช้และผลิตนวัตกรรมและสารสนเทศโดยมีองค์ประกอบในการพิจารณาจากการสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้เป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) Safe ด้านความปลอดภัย 2) Access ด้านเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้ 3) Firewall ด้านการป้องกันผู้อื่นเข้าถึงข้อมูล 4) Ethic ด้านจริยธรรมในการใช้ข้อมูล 5) Technology ด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และ 6) You ด้านการมีสติในการใช้เทคโนโลยี

References

จุรีพร นิลแก้ว และสมใจ สืบเสาะ. (2566). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 83-98.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ และศิรินทร มีขอบทอง. (2565). การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครุไทยในยุคดิจิทัล. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

รัตติพร พิพิธกุล และอำนวย ทองโปร่ง. (2566). ความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 299-331.

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสาร “ไทยคู่ฟ้า”. ม.ป.ป.(33), 4-11.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566-2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2567 จาก http://www.bopp.go.th/?p=2404

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สกศ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในประเทศไทยและประเทศที่คัดสรรเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สกศ.

อริศรา สิงห์ปัน. (2554). สารสนเทศ. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์, 12(3), 42-45.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2548). หลักการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย. วารสารครุศาสตร์, 34(2), 61-75.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ใน วิทยานิพจน์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

Ignite Thailand. (2555). บทบาทของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.ignitethailand.org/content/4756/ignite

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30