ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อความเป็น นวัตกรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ชนกชนม์ ชนะสงคราม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ความเป็นนวัตกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับความเป็นนวัตกรของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรของครู และ 4) ตัวแปรพยากรณ์ภาวะผู้นำ                   เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคิดสร้างสรรค์ และด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม
  2. ความเป็นนวัตกรของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างเครือข่าย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็น นวัตกรของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อวามเป็นนวัตกรของครู 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารความเสี่ยง ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 และด้านการคิดสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของครู อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยทำนายความเป็นนวัตกรของครู ได้ร้อยละ 49.2 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ =  2.000 + .403(X4) + .155(X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน   =  .522(X4) + .205(X2)

References

กุลชลี จงเจริญ. (2561). เอกสารประกอบการสอนหน่วยที่ 12 ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรม ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นํา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัญญวรรณ บุญมณี, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 365-378.

พสุ เข็มทองคำดี. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์ชนก หงษาวดี และเพ็ญวรา ชูประวัติ. (2565). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(2), 243-252.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

เมธี ตั้งสิริพัฒนา. (2564). การศึกษาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตนภรณ์ กัญญาคำ, สมใจ ภูมิพันธ์ และโกวัฒน์ เทศบุตร. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 530-543.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. พัทลุง: โรงพิมพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. (2566). ข้อมูลอัตรากำลัง (ณ วันที่ 10มิถุนายน 2566). พัทลุง: โรงพิมพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักประดิษฐ์จากบทเรียนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สร้างนักประดิษฐ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอ็น 60 รัตนเทรดดิง.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). กลยุทธ์การดำเนินงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2566 จาก https://www.nia.or.th/ strategy.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Horth, D. & Buchner, D. (2014). Innovation Leadership How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results. Retrieved March 11, 2024, from https://www.muyhideencoed.com/library/ ebooks/resources/Innovation_Leadership_by_david_horth.pdf.

Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. Determinining. (1970). Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale: Reading in Attitude Theory and Measurement. New Yor: Wiley & Son.

Rogers, E. M. (1983). Diffusion of innovations. New York: The Fee Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28