บทบาทพระสงฆ์กับการสร้างความสมานฉันท์ตามโครงการหมู่บ้าน รักษาศีล 5 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความสมานฉันท์, หมู่บ้านรักษาศีล 5, พระสงฆ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับบทบาท 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ
3. เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์กับการสร้างความสมานฉันท์ตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.994 จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์อำเภอโนนไทย จำนวน 196 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทพระสงฆ์กับการสร้างความสมานฉันท์ตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.58, S.D.=1.21) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง
3 ด้าน 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม และวุฒิการศึกษาสามัญ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์กับการสร้างความสมานฉันท์ตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มีการพูดคุยปัญหาและความขัดแย้งโดยเว้นจากอคติ 4 ยอมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความปรองดองในชุมชน การฝึกอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และมีการทำบัญชีครัวเรือน การอบรมยาเสพติดให้โทษแก่เด็กเยาวชนคนในชุมชน ให้ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในวัด การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทยภายในชุมชน
References
ชาญชัย ฮวดศรี. (2555). บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชนเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 9. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1 (3), 85.
พระครูวิสุทธิสรคุณ (วิชิต วิชิโต). (2554). บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการสอนคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสันติวชิรกิจ วิโมกข์. (2560). แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อชุมชนสันติสุข: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโนนดุม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(ฉบับพิเศษ).
พระเทพสิงหวราจารย์ โสภณ โสภโณ (ยอดคำปา). (2561). การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่.ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุพาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปริยัติโสภณ วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ. (2548). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กาญจนบุรี: สำนักพิมพ์ธรรมเมธี–สหายพัฒนาการพิมพ์.
พระใบฎีกาไพศาล กมฺพูสิริ. (2556). บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน ในจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ (แซ่หลี). (2558). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ด้วยการขับเคลื่อน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานวิจัย. สถาบันพุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพงษ์ศักดิ์ รตนญาโณ (ทองละมุล). (2561). การบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 27-28.
พระสมุห์นพดล จิรสีโล (เจริญผล). (2561). แนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเจ้าคณะอำเภอโนนไทย. (2566). บัญชีสำรวจ พระภิกษุ สามเณร ศิษย์ และวัดประจำปี พ.ศ.2566. นครราชสีมา: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอโนนไทย.
สิน พันธุ์พินิจ. (2557). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจูนพับลิซซิ่ง จำกัด.
อมรรัตน์ เอี่ยมสะอาด และคณะ. (2566). ความขัดแย้งในสังคมไทย. (อินเตอร์เน็ต). เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://thaidiffarant.blogspot.com
Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row.