การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระครูกิตติประชาทร (ละออง กิตฺติธโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • สุริยะ มาธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับบทบาท 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอห้วยแถลง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.929 จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ จำนวน 360 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.10, S.D.=0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. ผลการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม พบว่ามีความสัมพันธ์กันระดับสูงมาก (r=0.844**) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์กันระดับมากทุกด้าน 3. แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ใช้เทคโนโลยีและสื่อสารช่วยแชร์ความรู้เพื่อประโยชน์สังคม ด้านบุคลากร ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและพัฒนาสื่อการสอนที่ทันสมัย ด้านข้อมูล การใช้ไลน์กลุ่มเพื่อสื่อสารและเผยแพร่พระพุทธศาสนาผ่าน เฟสบุ๊ค และไลน์ ช่วยให้ผู้รับได้มากยิ่งขึ้น ด้านกระบวนการ การเลือกใช้เนื้อหาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่น่าสนใจช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

References

ธนกร ชูสุขเสริม, (2562). ปัจจัยที่เป็นปัญหาในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ: ศึกษาเฉพาะกรณีพระนักศึกษาหลักทางไกลมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน รุ่น 1-4. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 16(1), 195-212.

ธนกร ธีระวุฒิชัยกิจ. (2562), ปัจจัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการอ่านนวนิยายในกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระครูปลัดเฉลิมพร อภิวโร (เเป้นกลม). (2562). ประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสิฐสรภาณ. (2560). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสถานีวิทยุชุมชนวัดเนินมะคึกวนาราม ตำบลน้ำรึม อำเภอเมือง จังหวัดตาก. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจิรวัชร์ สุธมโม พิชากร. (2563). การบริหารจัดการระบบบริจาคอิเลคทรอนิกส์ของวัดในอำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธงชัย สุนฺทราจาโร ธนวัฒนกุล. (2561). การพัฒนาการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการสมชาย อินฺทโชโต. (2561). การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการสุรศักดิ์ สุขุมาโล. (2561). เทศนาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอสาไห้ จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูริทัต ศรีอร่าม. (2563). แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 5(3), 69-79.

วรัญญา เดชพงษ์ และคณะ. (2564). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(2), 199-215.

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอห้วยแถลง. (2565). เอกสารประกอบการประชุมพระสังฆาธิการ. นครราชสีมา: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอหัวแถลง.

สิน พันธุ์พินิจ. (2557). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจูนพับลิซซิ่ง จำกัด.

เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2563). สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30