การบริหารวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วลัยลักษณ์ อินนอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาพิสิฐ วิสิฏฐปญโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระฮอนด้า วาทสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ศิวกร อินภูษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, สถานศึกษา, ยุคดิจิทัลฃ

บทคัดย่อ

การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการมีภาระหน้าที่ 17 งาน คือการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น การวางแผนงานด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนว การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ       การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การบริหารงานวิชาการสถานศึกษายุคดิจิทัล เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานวิชาการ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สื่อการสอนดิจิทัล แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ ระบบวัดผลและประเมินผล ระบบติดตามผลการศึกษา โซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผล ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะกับแต่ละบุคคล การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานวิชาการ ควรคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษาและความพร้อมของผู้ใช้งาน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการช่วยให้ผู้บริหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ

References

กฤชกร ไพคำนาม และ สุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 55-67.

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550, 16 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก. หน้า 29.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.ท.).

จิรพันธ์ พิมพ์พันธุ์. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาเอกชนเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

ณัฐกานต์ อยู่คงพันธุ์, กฤษกนก ดวงชาทม และ อุรสา พรหมทา. (2566). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(3), 835-852.

มลฤดี เพ็งสง่า และ มัทนา วังถนอมศักด์. (2566). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 162-175.

รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: นำศิลป์.

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎีการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซตการพิมพ์.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

สุเมธ งามกนก. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 3(1), 59-67.

อนุสรา สุขสุคนธ์, เสาวณีย์สิกขาบัณฑิต และ ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2566). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(4), 1009-1032

อรชร วรรณสอน. (2563). อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเพื่อรองรับการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยศิลปากร

อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:

โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. ใน รายงานการวิจัยรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประจำปีงบประมาณ 2562. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

Edward W. Smith and others. (1961). The Educator’s Encyclopedia. New Jersey: Prentice Hall.

Heather Fry, Steve Ketteridge and Stephanie Marshall. (2009). A Handbook for Teaching and Learning in Higher Education : Enhancing Academic Practice. (3rd ed.). New York: Taylor & Francis.

Richard A. Gorton. (1983). School Administration and Supervision : Leadership Challenges and Opportunities. (2nd ed.). Ohio: W. C. Brown.

Rothidsathan, B. (2016). Policy of Higher Education. Retrieved October 30, 2023.

from http://www.moe. go.th/websm/2016/sep/385.ht2.jpg

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30