วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ทองจะโปะ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง, ข้าราชการตำรวจ, กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ 2) วิเคราะห์วัฒนธรรมการเมืองของของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล และ 3) เสนอแนวทางพัฒนาการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้                ได้สร้างขึ้นโดยใช้การสังเคราะห์แนวคิดของ ลิขิต ธีรเวคิน วิสุทธิ์โพธิแท่น พรอัมรินทร์ พรหมเกิด ทินพันธ์นาคะตะ และ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 196 คน นำมาคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเปิดตารางของของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้ จำนวน 127 คน สัมภาษณ์ ข้าราชการตำรวจตำแหน่งผู้กับการ ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้กับการ ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บังคับการ ข้าราชการตำรวจตำแหน่งสารวัต จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า  อยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 6 ด้านได้แก่ ด้านการเคารพในกติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความสำคัญของศักดิ์ศรีและความเสมอภาคของบุคคลด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง การปกครอง ด้านการมองโลกในแง่ดี มีความไว้วางใจเพื่อนมนุษย์ ด้านการมีสำนึกในหน้าที่พลเมืองและเชื่อมั่นในตัวเอง และ ด้านความเชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการวิเคราะห์วัฒนธรรมการเมืองของของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล พบว่า ตัวแปร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเคารพในกติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้านการมีสำนึกในหน้าที่พลเมืองและเชื่อมั่นในตัวเอง ด้านการมองโลกในแง่ดี มีความไว้วางใจเพื่อนมนุษย์  ด้านความสำคัญของศักดิ์ศรีและความเสมอภาคของบุคคล ร่วมกันพยากรณ์การไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ได้ร้อยละ 66.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางพัฒนาการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ต้องจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบประชาธิปไตย ยกย่องเชิดชูให้กับผู้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้บริหารต้องจัดสรรเวลาการใช้สิทธิ

References

นุช หวังสุข. (2559). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาคณะครูโรงเรียน บ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาวิชารัฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2539). สังคมวิทยาการเมือง. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลิขิต ธีรtเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลา เรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

___________. (2539). การเมืองการปกครองของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Krejcie R.V., and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28