การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ TAI เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ เสาร์แดน สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

สื่ออินโฟกราฟิก, การเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI, ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านดอนชัย (ประชาอุทิศ) ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วยสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) และ t-test dependent

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพ  E1/E2 เท่ากับ 83.60/83.50 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้  คือ  80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.70 คะแนน และหลังเรียน 16.70 คะแนน คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่สถิตที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D. = 0.30) 

References

กวีศุภณิฐ วิกรมวยากรม. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาผลการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาที่ใช้การปฏิบัติงานตามแนวทาง PDCA และการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถร่วมของกลุ่มเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนาทิป ทุ้ยแป. (2551). การพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติกาญจน์ คงชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 351-364.

ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2558). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 23-33.

ธนพรรธ อนุเวช. (2564). แนวทางการสร้งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 185-198.

ธิตติยพัทย์ อยู่จิตร์. (2558). การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ. ศ. 2556. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัลลภ จิระโร. (2563). แรงจูงใจในการทํางานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร. วารสารการวัดและประเมินผล สถิติและการการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 1(2), 33-44.

ยุวรี ผลพันธิน. (2555). บทบาทการส่งผ่านของความเชื่อในประสิทธิภาพของตน ความเหนื่อยหน่ายและความพึงพอใจงาน ในโมเดลผลการปฏิบัติงานของครู. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved from http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1502.

รัชนีวรรณ เทียนทอง. (2557). การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนไทยกับครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved from http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1310.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2558). ปัญหาการศึกษาไทย: การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 48-55.

ศศินันท์ ฮะสม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสมุทธสาครวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยหอการค้า.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559 – 2572). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุนทรี ศรีศักดิ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีเป็นตัวแปรคั่นกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 125-143.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 93-102.

Campbell, J. P. (1990). Modeling the performance prediction problem in industrial and organizational psychology. In Handbook of industrial and organizational psychology, 1,(2),687-732.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons. In.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28