การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับแชทบอทรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • วิเชษฐ์ นันทะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ชลธิชา คำตัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • หทัยรัตน์ เครือผักปัง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบบเพื่อนคู่คิด, แชทบอท, วิทยาการคำนวณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับแชทบอท รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ใช้ระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับแชทบอท เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับ  แชทบอท แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย              ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพของระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับแชทบอท รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับ           ดีมาก และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนที่ใช้ระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับแชทบอทสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). ระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (Local Education Center Information System: LEC). เรียกใช้เมื่อ 18 มีนาคม 2567 จาก https://lec.dla.go.th/

ธนกร สายปัญญา. (2565). แชทบอทสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาการออกแบบอินโฟกราฟิก. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 13(3), 125-134.

พิมพ์เพชร ไปเจอะ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(2), 239-251.

ยรรยง ลันลอด. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ในรายวิชาทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา. LAWARATH SOCIAL E – JOURNAL, 5(1), 127-142.

รัตนาภรณ์ เชยชิต และอรนุช ลิมตศิริ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษด้วยระบบตอบกลับข้อความอัตโนมัติ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(11), 1-10.

ศราวุธ มากชิต. (2565). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านแชทบอท สำหรับวิชาวิทยาการก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), 44-55.

ศิรัฐ อิ่มแซ่ม และใจทิพย์ ณ สงขลา. (2563). ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13(1), 45-57.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2567 จากhttps://www.ipst.ac.th/teaching/3487/curriculummanual.html

สุมัยย๊ะ สาแอ และฟูไดละห์ ดือมอง. (2566). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิทยาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(3), 74-83.

อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ และมนต์ชัย เทียนทอง. (2561). กรอบแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับการเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 13-21.

Almelhi, A. M. (2021). Effectiveness of the ADDIE Model within an E-Learning Environment in Developing Creative Writing in EFL Students. English Language Teaching, 14(2), 20-36.

Muruganantham, G. (2015). Developing of E-content package by using ADDIE model. International Journal of Applied Research, 1(3), 52-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28