การออกแบบตกแต่งแบบเคลื่อนย้ายได้ติดตั้งง่ายด้วยสัญญะบวกเพื่อสร้างพื้นที่ ความสุขและการใช้สอยที่ปรับเปลี่ยนได้

ผู้แต่ง

  • เอกพงษ์ ตรีตรง สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนุชา แพ่งเกษร สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

พื้นที่ความสุข, เคลื่อนย้ายได้, สัญญะบวก

บทคัดย่อ

ทุกชีวิตต้องการพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กหรือใหญ่ เพื่อใช้ในการอยู่อาศัย พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการพักผ่อน และเป็นพื้นที่สำหรับพักพึงหัวใจ แม้พื้นที่กว้างขวางเพียงใดแต่มนุษย์ไม่น้อยที่ยังมีความทุกข์ทางใจ ดังนั้นพื้นที่ทางใจเป็นนามธรรม มนุษย์ก็แต่สามารถสร้างโลกขึ้นมาแบบลึกลับซับซ้อน บทความนี้ต้องให้ความสำคัญของพื้นที่ภายในจิตใจและภายนอกส่วนของร่างกายไปพร้อมกัน ด้วยการออกแบบตกแต่งแบบเคลื่อนย้ายได้ติดตั้งง่าย สามารถสร้างความงดงามให้กับสถานที่และสร้างบรรยากาศได้ดี น่าจะเป็นแนวทางการตกแต่งที่มีสัญญะเสริมด้านจิตใจ โดยมีการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการตกแต่ง คือพื้นที่แห่งความสุขสำหรับมุมหนึ่งของที่อยู่อาศัย มีนัยยะเชิงบวก ในแนวความคิดที่สามารถสื่อสารเชิงรูปธรรม เริ่มมีการใช้งานจริง จนได้เห็นแก่นสาระที่พร้อมจะสามารถนำมาพัฒนาในอนาคตต่อไปได้ ซึ่งได้ศึกษาจากระบบในการถอดประกอบติดตั้งได้จากที่ต่างๆ สัญญะเชิงบวกในการสร้างสรรค์ การพัฒนาและเลือกวัสดุ การออกแบบกระบวนการต่อชนและติดตั้ง ทัศนธาตุผสานกับหลักการใช้สอย จนสามารถปรากฏเป็นงานออกแบบโดยได้อธิบายในบทความนี้ทั้งกระบวนการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตของผู้ออกแบบและวิชาการออกแบบนั่นเอง

References

The Guardian. (2564). สมองที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อมและพื้นที่. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2567 จากhttps://www.theguardian.com

จตุรัตน์ กีรติวุฒิพงศ์. (2555). สุนทรียภาพของทัศนธาตุทางทัศนศิลป์ : ความบันดาลใจจากโนรา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, หน้า 1.

ณัฐริกา อาคม. (2560). การออกแบบเฟอร์นิเจอร์โดยใช้หลักการดมดูลาร์. ปริญญาศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมสาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร, หน้า 1

วุฒิ ไชยพงศ์. (2566). โอกาสในการเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างที่พักอาศัยในจังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, หน้า 1

นววิธ โกศัย. (2551). โอกาสในการเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างที่พักอาศัยในจังหวัดนครราชสีมา. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนลียีสุรนารี, 1.

โสรยา หาทว และ สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์. (2563). แนวทางออกแบบคอนโดมิเนียมสำหรับคนรุ่นใหม่ Condominium Design Guidelines for Generation Y.ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563, วันที่ 2 พฤษภาคม 2563. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปทุมธานี, หน้าที่ 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30