รูปแบบการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • สุริยะ มาธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สุขภาวะพรสงฆ์, โควิด-19.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาพุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.863 จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 209 รูป เคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (x̄=3.89, S.D.=0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. พุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ พบว่า ด้านสุขภาวะทางกาย ในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านสุขภาวะทางจิต การมีสุขภาพจิตที่ดีช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี ด้านสุขภาวะทางสังคม มีการให้บริการทางด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลของรัฐ 3. รูปแบบการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา ด้านการดูแลสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์หรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้านชุมชนและสังคมดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ มีการดูแลที่เหมาะสมด้านอาหาร สภาพแวดล้อม ของพระสงฆ์ให้เอื้อต่อพระธรรมวินัยและผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเหมาะสม ด้านพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม พระสงฆ์ต้องมีความรู้เข้าใจหลักการแพทย์สมัยใหม่และบูรณาการกับหลักการดูแลสุขภาพ

References

กรกนก ลัธธนันท์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 35(1), 277.

กรมควบคุมโรค. (2566) ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (อินเทอร์เน็ต) เรียกใช้เมื่อ 12 มิถุนายน 2566. จาก https://ddc.moph.go.th/

viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf

เจษฎาภรณ์ สุธรรม และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 19 (2), 102.

ปิติณัช ราชภักดี และคณะ. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธาณี, 26 (3), 199.

พระปลัดทัศนพล เขมจาโร และคณะ. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติ ของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11 (1), 280.

พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโต. (2561). รูปแบบการเจริญเมตตาภาวนาที่มีผลต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุ. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุริยา ฐิตสีโล และคณะ. (2565). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (5), 226.

ภัคณัฐ วีรขจร และคณะ (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3 (3), 106.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย 2561, 8 (1), 116.

สิน พันธุ์พินิจ. (2557). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจูนพับลิซซิ่ง จำกัด.

สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา. (2566). บัญชีรายชื่อพระสงฆ์อาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด. อัดสำเนา.

อุ่นเอื้อ สิงห์คำ. (2557) กระบวนการและผลของการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ.วารสารสมาคมนักวิจัย, 19 (1), 152.

Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28