การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • รัชดาพรรณ อินทรสุขสันติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

โมดูลการเรียนรู้, กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E , ความคิดสร้างสรรค์, นวัตกรรมการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ2) ศึกษาผลการใช้โมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E สำหรับนักศึกษาครู ดำเนิน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน และระยะที่ 2 การเปรียบเทียบผลการใช้โมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู การแบ่งกลุ่มทดลองด้วยวิธีจับคู่ (Match pair) จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับหาประสิทธิภาพของโมดูล ประกอบด้วย 1) แบบฝึกหัดท้ายโมดูล  2) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ และ3) แบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

          ผลการวิจัยพบว่า 1) โมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E   เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ มีประสิทธิภาพ 85.20/82.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2)  นักศึกษากลุ่มทดลองที่ใช้โมดูลการเรียนรู้ มีความรู้เพิ่มขึ้น โดยมีคะแนนความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ3) นักศึกษาครูที่ได้เรียนด้วยใช้โมดูลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมทางการศึกษาพิเศษสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

งานเลขาธิการคุรุสภา, สำนัก. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษากรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานมาตรฐานวิชาชีพ กลุ่มมาตรฐานและจรรยาบรรรณวิชาชีพ.

จิรัญญา ไชยโยและพจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 , 11(1), 23-38.

ภูษณิศา สุวรรณศิลป์. (2564). ความสามารถในการสร้างสื่อการสอนด้วยภาพอินโฟกราฟฟิกของนักศึกษาครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 17(3), 12-23.

มินตรา ศักดิ์ดีและคณะ. (2566).การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมในการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม.วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม,7(6), 164-175.

ธนากร นะเริงหาย และคณะ. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัตนปัญญาวิชชาลัย อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 1( 4), 1-15.

ธีรยุทธ แก้วดำรงชัย และอัมพร วัจนะ. (2566). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยบทเรียนออนไลน์บน Google Sites ร่วมกับเกมวันเดอโก เรื่องระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, 7(5), 25-37.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565.ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139.

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. Retrieved from https://www.mhesi.go.th/images/2566/TUC/MHESI_TUC_e-Document.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก. 50. Retrieved from https://www.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/01/MOE-Authority.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28