จุดเชื่อมโยงระหว่าง 3 ศาสนา พุทธ คริสต์ และอิสลาม สู่การสร้างสรรค์งานออกแบบ

ผู้แต่ง

  • เอกพงษ์ ตรีตรง สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนุชา แพ่งเกสร สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

จุดเชื่อมโยงสามศาสนา, การสร้างสรรค์, งานออกแบบ

บทคัดย่อ

ปัญหาในสังคมไทยอันเกิดขึ้นจากการขาดสันติสุข โดยเฉพาะจากความซึมเศร้า ที่นับวันมีจำนวนสถิติที่สูงขึ้น คนขาดพื้นที่และกิจกรรมที่ช่วยทุเลาความเครียด ความทุกข์ และปัญหาด้านจิตใจและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนเมือง ที่อาจมีพื้นที่อันตอบสนองแค่ความสุข แต่ ขาดซึ่งสันติสุข ศาสนาจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เกิดเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะกิจกรรมและหลักคิดอันมาจากต้นกำเนิดความรักเป็นพื้นฐาน ด้วยกิจกรรมและพื้นที่บรรยากาศที่ทำให้เกิดสันติสุขได้ง่าย และสามารถบรรเทาทุกข์ให้กับคนเมืองใด้บ้าง โดยพื้นที่กิจกรรมอันมีสัญญะที่สัมผัสได้จากการสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์ออกแบบมุ่งหวังให้พื้นที่และบรรยากาศสามารถช่วยสร้างกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำหลักคิดจากสามศาสนา ถอดระหัสและแปลความหมายสู่การออกแบบร่าง ในการกำหนดรูปแบบ องค์ประกอบ ภาพลักษณ์ สู่การออกแบบรายละเอียดต่อไปจากการสร้างสรรค์แบบร่าง โดยขั้นตอนนี้คือการตีความสู่การออกแบบร่างให้สามารถปรากฏเป็นรูปแบบจากพื้นที่เล็กขยายสู่พื้นที่ใหญ่ หัวใจสำคัญในบทความนี้จึงมุ่งเน้นการนำสัญญะและเนื้อหาจากสามศาสนามาถอดรหัสเป็นรูปแบบสู่การสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ 2 มิติ และการออกแบบ 3 มิติ ในภาพจำลอง สู่การพัฒนาการสร้างสรรค์พื้นสำหรับสามศาสนาที่ขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไป

References

คัมภีร์อัลกุรอาน. (2545). พิมพลักษณ์. นนทบุรี: คัมภีร์อัลกุรอาน.

ประทีป ฉัตรสุภางค์ และวรยุทธ ศรีวรกุล. (2560). วิถีชีวิต 5 ศาสนิก ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พจนา จันทรสันติ. ออกจาก"คอมฟอร์ตโซน"พื้นที่แสนสุข.ศาสนาทั้งผองพี่น้องกัน วิถีสู่ความปรองดองในหมู่ศาสนา(Towards the true kinship of faiths How the worls's religions can come together. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท).(2555). การไม่ยึดติด . ศูนย์เผยแพร่มรดกธรรมพระโพธิญาณเถร: อุบลราชธานี

พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษาภาคพันธสัญญาใหม่. (2543) สมาคมพระคริสตธรรมไทย.กรุงเทพมหานคร: พระคริสตธรรมคัมภีร์.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2546). พระไตรปิฎกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้. วัดณาณเวศกวัน: นครปฐม.

พระมหาสาคร วรธมโมภาโส. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท. วารสารพุทธศาสตร์, 8(2).

พระธรรมสิงหบุราจารย์.(2556). ธรรมถึงธรรม ธรรมะคือธรรมชาติ. พุทธโธโลยี: พระพุทธศาสนาประกาศ.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต).(2539). พุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. สาระธรรมอิสลาม. (2566). การทำอิลาดะฮ์ในอิสลาม เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จากhttps://www.islammore.com/view/2135

พิษณุนาท ศรีทะวงศ์. (2564). สันติสุข. (เอกพงษ์ ตรีตรง, สัมภาษณ์)

อบรมจริยธรรมอิสลาม.(2560). หลักศรัทธา มัสยิดบ้านนา จังหวัดพังงา เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2567 จาก https://anyflip.com/fuulx/zboo/basic

BBC News.(2566) คริสต์ศาสนา : มิชชันนารีเกาหลีใต้รุกเนปาล. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/international-64260023

Friedman, Y. (2012). Principles Mobile Architecture. เรียกใช้เมื่อ 24 เมษายน 2566 จาก.http://www.yonafriedman.nl/?page_id=333.Gwo-Shyang Sun. (1971). Modular Design in Buildings and Furnishing. Yang-Ming-Shan: Taiwan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30