การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของชาว คีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สันติ อุนจะนำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • บุญส่ง ทองเอียง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, พระพุทธศาสนาในวิถีชีวิต, วิถีชีวิตของชาวคีรีวง

บทคัดย่อ

คีรีวงเป็นชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างรวดเร็ว ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนคีรีวงหากไม่มีการดูแลหรือเยียวยาปัญหาอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงหรือความเสื่อมทางวัฒนธรรม การศึกษาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของชาวคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคนและสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมของชุมชนคีรีวง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตและความต้องการของชาวคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่แอนด์มอร์แกน จำนวน 351 คน การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา โดยการพรรณนาและนำเสนอแบบบรรยาย

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของชาวคีรีวงอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ความต้องการของชาวคีรีวง  อำเภอลานสกาจังหวัดนครศรีธรรมราช  ในส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของชาวคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีความต้องการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิต ด้านคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ให้สมาชิกทุกคนปฏิบัติตนในการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมของชุมชนใน และยกย่องผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำดีต่อไป  ด้านพิธีกรรม ให้มีการสร้างองค์ความรู้ชุมชนเพื่อควบคุมแนะนำในเรื่องพิธีกรรมดั้งเดิมของชุมชนด้านความเชื่อจัด สร้างนวตกรรมหรือการสร้างองค์ความรู้ชุมชนในความเชื่อเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ ไว้ให้คนในสังคมได้เรียนรู้ต่อไป ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี

References

งามนิจ กุลกัน, (2556). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, วารสารกระแสวัฒนธรรม. 14 (25). 18-30.

ธีรพันธ์ จุฬากาญจน์. (2551). การศึกษาความเชื่อ พิธีกรรมและเรื่องเล่าเพื่อสร้างอุดมการณ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชาวคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช : รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ปัญญา เลิศไกรและลัญจกร นิลกาญจน์, (2559). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม,วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8 (2), 1-10.

ประคอง สุคนธจิตต์, (2552). บ้านขุนน้ำ คีรีวง : ชุมชนพึ่งตนเอง, วารสารร่มพฤกษ์, 27 (1),91-123.

สุดาวรรณ์ มีบัวและคณะ. (2560).การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนหมู่บ้านคีรีวงจากการท่องเที่ยว. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9 (1), 128-139.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607–610.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2564). พันธกิจ. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2564, จาก www.mbu.ac.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28