การพัฒนาจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ปักกะสีนัง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • อภินันท์ จันตะนี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • สมเดช นามเกตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • พระครูพิศาลสารบัณฑิต (ราเชนทร์ วิสารโท) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

คำสำคัญ:

จริยธรรม, ปัญญาประดิษฐ์, เอไอ, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทิศทางการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์และจริยธรรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และ 2) วิเคราะห์หลักพุทธธรรมสำหรับพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พบว่า 1) การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของไทยในยุคปัจจุบันดำเนินการตามหลักการทางจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์  ที่กำหนดโดยรัฐบาลไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้กำกับดูแล ผู้วิจัย ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนา ผู้ให้บริการปัญญาประดิษฐ์ และผู้ใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์  ใช้เป็นแนวทางสำหรับการกำกับการดำเนินงาน เพื่อให้ ปัญญาประดิษฐ์มีความน่าเชื่อถือ มั่นคงปลอดภัย มีจริยธรรม ก่อให้เกิด ประโยชน์กับมนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อมฯลฯ  โดยทิศทางในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้นตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) ซึ่งอยู่ในช่วงของการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงหน่วยงานด้านพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกันเมื่อถึงเวลาก็ต้องปรับตัวเตรียมนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล  2) หลักพุทธธรรมสำหรับพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่พึงประสงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับควรยึดหลักจริยธรรมที่สำคัญคือ โอวาทปาฏิโมกข์ หลักไตรสิกขา อริยสัจ 4 หลักกัลยาณมิตตธรรม หลักสัปปุริสธรรม หลักโยนิโสมนสิกา หลักกาลามสูตร รวมถึงหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐาน (เบญจศีล เบญจธรรม) จริยธรรมขั้นกลาง (ศีล 8 กุศลกรรมบถ 10) และจริยธรรมขั้นสูง (อริยมรรค 8) 

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม. (2565). แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570). เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thailibrary.in.th/wp-content/uploads/2022/12/20220726-AI.pdf

จิตต์สุภา ฉิน. (2565). นักวิจัยญี่ปุ่น เปิดตัว “Buddhabot” เหมือนแชทคุยกับพระพุทธเจ้า.

มติชนสุดสัปดาห์. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก

https://www.matichonweekly.com/column/article_62027

เดลินิวส์. (2562). กระตุ้นพุทธ 3 นิกายเผยแผ่เชิงรุกยุคดิจิทัล “พระมหาหรรษา” ประชุมวัชรยานโลก กระตุ้นพุทธ 3 นิกายเผยแผ่เชิงรุกยุคดิจิทัล เพื่อช่วยเหลือโลกให้เกิดความสมดุลและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2566 จาก https://d.dailynews.co.th/education/705278/

ไทยรัฐ. (2561). วัดสุทธิฯ ทำเก๋ ซื้อเครื่องวัดค่าความสุข ทดสอบคลื่นสมองผู้ปฏิบัติธรรม.เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/

นิเทศ สนั่นนารี, จรัส ลีกา และสาลิกา ไสวงาม. (2561). การสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 5(1), 159-178.

บ้านเมือง. (2562). ปิดฉากวิสาขะเวียดนามยิ่งใหญ่ ปฏิญญาฮานามยก 'เอไอ' ตัวช่วยแผ่พุทธ.เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://www.banmuang.co.th/

บ้านเมือง. (2566). “เผยแผ่พระพุทธศาสนายุค AI” พระวัดพระธรรมกาย เสนอเวทีสัมมนาเครือข่ายองค์กรพุทธนานาชาติกว่า 10 ประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก

https://www.banmuang.co.th/news/education/319913

พจนารถ สุพรรณกุล. (2557). การเผยแผ่พระพุทธศาสนากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก http://phd.mbu.ac.th/index.php/.

พระไพศาล วิสาโล. (2552). เทคโนโลยีในทัศนะของพุทธศาสนา. นิตยสาร CHIP มีนาคม

(3).

พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส. (2563). เกณฑ์การตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ที่มีต่อการใช้ปัญญาประดิษฐ์. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เชียงใหม่.

พระครูวินัยธรปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) และบุญเตือน ทรัพย์เพชร. (2564). Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(4), 424-433.

พระครูวินัยธร ปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) และบุญเตือน ทรัพย์เพชร (2564). การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 423-433.

พระครูสมุห์มานิตย์ ญาณธโร. (2560). การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับพระนิสิต. ในดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เชียงใหม่.

พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ แสนคำ). (2564). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่เหมาะสม กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ในดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสน). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เชียงใหม่.

พระครูสุทธิวรญาณ. (2564). ปัญญาประดิษฐ์ (AI) : วิถีการเผยแผ่แห่งอนาคต. วารสาร มจร การพัฒนาสังบ้านเมืองคม, 6(3), 163-173.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). คนไทยสู่ยุคไอที. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

มงคล เทียนประเทืองชัย. (2565). วิเคราะห์การคิดของปัญญาประดิษฐ์และของมนุษย์ ด้วย

แนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(9), 135-145.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของ

วิทยาศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก

https://www.papayutto.org/th/book-full-text/318

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2564). พุทธวิธีการสอน. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.watnyanaves.net/th/

สรานี สงวนเรือง. (2563). รีวิวเครื่องช่วยทำสมาธิ muse 2 ใช้แล้วเวิร์คมั้ย?. เรียกใช้เมื่อ 11 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.youtube.com /watch?v=eqvZI892Gro

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). EDTA ร่วมกับ สวทช.เผยผลศึกษาความพร้อมในการประยุกต์ใช้ AI. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จากhttps://www.etda.or.th

สำราญ สมพงษ์. (2561). นักวิจัย AI กำลังพัฒนาไอทีเทียบชั้นพระวังคีสเถระ สนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าในโลกดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จากhttps://www.banmuang.co.th/news/education/128928

Ministry of Digital Economy and Society. (n.d.). Digital Thailand - AI Ethics Guideline. Retrieved 16 August 2023 From https://www.etda.or.th/

STS Cluster Thailand. (2563). จริยศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์: มุมมองเชิงพุทธ. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://stsclusterthailand.wordpress.com

Suthichai Live. (2561). สุทธิชัย ไลฟ์ กับท่าน ว.วชิรเมธี พุทธศาสนา กับปัญญาประดิษฐ์.

เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://www.youtube.com/

watch?v=59-gcoNAGk0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30