รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาในโรงเรียน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • พิศุทธิ์ บัวเปรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • บัญชา ศิริเรืองชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • อลงกต คชสาร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการนวัตกรรม 3. เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการนวัตกรรม วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบการจัดการนวัตกรรม  ด้วยวิธีการสังเคราะห์เอกสาร การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี  ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการนวัตกรรม เริ่มจากการยกร่างรูปแบบการจัดการนวัตกรรม การตรวจสอบความเหมาะสม โดยการจัดสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ โดยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 6 จังหวัด โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ แยกตามจังหวัด พื้นที่ละ 5 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัย พบว่า

ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาองค์ประกอบการจัดการนวัตกรรม  ทางการบริหารในโรงเรียนมี 5 องค์ประกอบดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ได้แก่ 1)กำหนดแนวทางในการจัดการนวัตกรรม 2) เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรม และ 3) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
2. หลักการ ได้แก่ 1) หลักการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2) หลักการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3) หลักการจัดการความรู้ 3. ปัจจัยนำเข้าในการจัดการนวัตกรรม ได้แก่ 1) คุณลักษณะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร ของครูและบุคลากร 2) คณะกรรมการการจัดการนวัตกรรม 3) แหล่งเรียนรู้สื่อและเทคโนโลยี 4. กระบวนการจัดการนวัตกรรม ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 วางแผนออกแบบ ขั้นตอนที่ 3 ใช้นวัตกรรม ขั้นตอน 4 การประเมินผล และขั้นตอนที่ 5 การเผยแพร่นวัตกรรม 5. ผลผลิต ได้แก่ 1) นวัตกรรมกระบวนการ 2) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และ 3) นวัตกรรมการจัดการ ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการนวัตกรรม พบว่ามีความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 3 ผลการประเมินความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรรณิการ์ สิทธิชัย. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 1419-1435.

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2561). Innovation Management ติดปีกสถานศึกษาสู่ยุค 5.0. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2564, จาก https://www.salika.co/2019/09/05/innovationmanagement-educational -5-0-era

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ปัญญา เลิศไกร. (2562). การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2564, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/218069

พยัต วุฒิรงค์. (2563). การจัดการนวัตกรรม: ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม:กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนปฏิรูปประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30