การธำรงอยู่ของวงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานี บ้านวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นิติพรรณ สุวาท สาขาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สาโรจน์ หมีแรต สาขาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาประเด็นการธำรงอยู่ของดนตรีชาติพันธุ์มอญ บ้านวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี มุ่งศึกษาบทบาทและการใช้วัฒนธรรมดนตรีของชาวมอญในมิติทางประวัติศาสตร์และสถานภาพปัจจุบัน ให้กับกลุ่มชนของตนเอง ซึ่งเป็นการย้ำเตือนกลุ่มชนของตนเองให้เห็นความสำคัญของชาติพันธุ์ผ่านวัฒนธรรมดนตรีของชาวมอญ ท่ามกลางพลวัตและความหลากหลายในบริบทสังคม โดยประเด็นดังกล่าว เลือกพื้นที่ชุมชนมอญบ้านวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ควรศึกษาวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดก่อนที่จะสูญหายไปและจัดทำฐานข้อมูลในลำดับต่อไป บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการธำรงอยู่ของวงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานี บ้านวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี โดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการธำรงอยู่ของวงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานีที่เต็มไปด้วยความหมายและความสำคัญที่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียน นอกจากนี้ยังมุ่งหวังในการศึกษาวงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานี ปัจจัยภายในหมู่บ้าน ปัจจัยภายนอกหมู่บ้าน ผลการธำรงอยู่ของวงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานี ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาได้รับประโยชน์ต่อดนตรีมอญทางด้านศิลปวัฒนธรรมมอญในระยะยาวโดยเน้นการธำรงอยู่ของดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานีต่อการเรียนรู้ต่อผู้เรียนและสังคมอย่างกว้างขวางและมีความยั่งยืนในอนาคต

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการธํารงอยู่ของวงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานี ปัจจุบันความเจริญจากวัฒนธรรมภายนอกเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมถูกลดบทบาทลงไป ทำให้เกิดความกลัวว่าลูกหลานจะไม่สามารถรักษาวัฒนธรรมไว้ได้จึงต้องปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่สนใจในวัฒนธรรมของตนเอง และเนื่องจากบ้านวังกะ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เช่น มอญ ไทย กะเหรี่ยง มุสลิม เป็นต้น ชาวบ้านต่างลงความเห็นว่าต้องการรักษาวัฒนธรรมของตนเอาไว้ จึงร่วมกันจัดพื้นที่การแสดงขึ้น เพื่อให้นักดนตรีทำการแสดงศิลปวัฒนธรรมของตน ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติดู นอกจากจะช่วยรักษาศิลปวัฒนธรรมไว้แล้ว ยังถือเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรม แนวคิดเช่นนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้วงดนตรีมอญสังขละหงสากาญจนธานีสามารถธํารงเอกลักษณ์และรักษาวัฒนธรรมทางดนตรีไว้ได้อย่างยั่งยืน

References

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (2538). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พัชรินทร์ ม่วงงาม. (2547). การธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชาวมอญ กรณีศึกษาหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยลัยรามคำแหง.

ศิลปากร, กรม. สถาปัตยกรรมไต. (2539). กรุงเทพมหานคร: ประชาชนจำกัด.

อภิชาต ทัพวิเศษ. (2552). วงก่วนกว๊าดมอญ : ดนตรีชุมชนมอญบ้านวังกะ หมู่ 2 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30