การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 ของประชาชนกลุ่มเพศสภาพ ในเขต อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, กลุ่มเพศสภาพ, พรหมวิหาร 4บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 3) เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ้มเพศสภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 ให้ความสำคัญและมีความตื่นตัวต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องที่มีความสอดคล้องต่อประชาชนโดยตรง มีส่วนในการตัดสินใจหรือการสร้างนโยบาย เสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองและสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม 2) วิเคราะห์การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 ด้านความเมตตา ปรารถนาดีต่อตนเองและส่วนรวม, ด้านความกรุณา การเกื้อกูลช่วยเหลือปรารถนาให้พ้นทุกข์ เอ็นดูสงสารผู้อื่น, ด้านความมุทิตา เกิดจากความเต็มใจ สนับสนุนข้อมูลที่สำคัญ และแสดงความดีใจกับคนที่ได้ดี, ด้านอุเบกขา การวางใจเป็นกลางแบบรู้เท่าทัน ไม่เฉยเมยต่อสภาพปัญหา 3) แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักพรหมวิหาร 4 ควรให้ความสำคัญกับการตื่นตัวต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะการเมืองมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต เมื่อระบบการเมืองมีพัฒนาการดีขึ้น ประชาชนให้ความสำคัญและตื่นตัว ระบบทางการเมืองก็จะพัฒนาดีขึ้น
References
กรมการศาสนา. (2530). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสังคายนา เล่มที่ 35. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
เขมภัทร ทฤษฎิคุณ. (2566). ความเป็นจริงของความเสมอภาคทางเพศ : เมื่อสิทธิในรัฐธรรมนูญไม่เป็นจริงในชีวิตจริง. เรียกใช้เมื่อ 2 มิถุนายน 2566 จาก https://pridi.or.th/th/content/2023/01/1406
ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์. (2566). ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม LGBT ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 8(5), 266-278.
นิยม เวชกามา. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พุทธจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.
พระมหาปวรภัฏฐ์ ภทฺทโมลี และคณะ. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตยของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(1), 116-135.
พระราชญาณวิสิฐ. (2548). การบริหารวัด. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
พระสุทัศน์ ยโสธโร และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวพุทธศาสนาของประชาชน ตําบล นาเกลือ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 23(2), 100-108.
พิสิฐพงศ์ สีดาว. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย.
สุภาพร พิศาลบุตร จริยธรรมทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: วีรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
อาดือนัน มะดอแซ และอับดุลเลาะ ยูโซะ. (2559). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองของผู้นำศาสนาในจังหวัด ปัตตานี. วารสาร AL-NURบัณฑิตวิทยาลัย, 11(20), 181-195.
Ilaw. (2560). รัฐธรรมนูญ 2560 ให้เรามีส่วนร่วมเรื่องอะไรได้บ้าง. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2567 จาก https://www.ilaw.or.th/node/