ความสุขและกระบวนการสร้างความสุขในการทำงานของครูรุ่นใหม่ กรณีศึกษาในโรงเรียนทางเลือกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บุญส่ง ทองเอียง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระครูวินัยธรวุฒิชัย ชยวุฑฺโฒ (เพ็ชรทองมา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

กระบวนการสร้างความสุข, ความสุขในการทำงาน, ครู, โรงเรียนทางเลือก

บทคัดย่อ

ความรู้สึกมีความสุขในการทำงานได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์การ เพราะคนที่มีความสุขหรือองค์กรที่มีบรรยากาศแห่งความสุขในการทำงาน จะมีพลังอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่ทั้งนี้แต่ละคนก็มองความสุขต่างกัน มีวิธีการแสวงหาความสุขที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองและประสบการณ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทำความเข้าใจถึงความหมาย และองค์ประกอบของความสุขในการทำงานของครู 2) เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการสร้างความสุขในการทำงานของครู และ 3) เพื่อค้นหาเงื่อนไขทางจิตและทางด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนทางเลือก การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูหมวดภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาตอนต้นของโรงเรียน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะข้อมูลเชิงคุณภาพ

          ผลวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการทำงาน หมายถึง การได้ทำในสิ่งในสิ่งที่ใจรัก การได้ทำในสิ่งที่อยากทำ มีความรักในอาชีพที่ทำ ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน สำหรับองค์ประกอบของความสุขในการทำงานประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในคือ มีความรู้สึกรักในงานที่ทำอยู่ มีความคิดในแง่บวก ส่วนปัจจัยภายนอกคือ มีเงินเดือน สวัสดิการที่เหมาะสม รวมถึงการมีเพื่อนร่วมงานที่ดี 2) กระบวนการสร้างความสุขในการทำงานของครู คือ เมื่อเกิดปัญหาหรือความไม่สบายใจจะใช้วิธีการขอคำปรึกษาจากคนรอบข้างโดยเฉพาะพ่อแม่ เพื่อนร่วมงาน รวมถึงการใช้วิธีการคิดในทางบวก            และ 3) เงื่อนไขทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานของครูคือ ความรักและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ส่วนเงื่อนไขทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานของครูคือ ความสัมพันธ์ของครูกับตัวเด็ก

References

Annemaree Carroll et al. (2022). Teacher stress and burnout in Australia: examining the role of intrapersonal and environmental factors. Social Psychology of Education, 25(1), 441–469.

Diener, E., Suh, E., & Oishi, S. (1997). Recent findings on subjective well-being. Indian Journal of Clinical Psychology, 24(1), 25–41.

Diener E. (2000). Subjective Well-Being: The Science of Happiness and a Proposal for a National Index. American Psychologist. 55(1), 34-43.

Easterline, R. A. (2004). Explaining happiness. Proceeding of the national academy of sciences, 100(19), 176-183.

Frederickson. (2006). The Effects of Pro Forma Earnings Disclosures on Analysts’ and Nonprofessional Investors Equity Valuation Judgments. The Accountings Review : 667- 686.

Kun, A., & Gadanecz, P. (2022). Workplace happiness, well-being and their relationship with psychological capital: A study of Hungarian teachers. Current Psychology: A Journal for Diverse Perspectives on Diverse Psychological Issues, 41(1), 185–199.

Krech, D., Crutchfield, R. S., & Ballachey, E. L. (1962). Individual in society: A textbook of social psychology. McGraw-Hill.

Lyubomirsky, S. (2008). The How of Happiness: A Scientific Approach to Getting the Life. New York: The Penguin Press.

Manion,J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.

Paula Benevene at al. (2019). Effect of Teachers’ Happiness on Teacher’ Health. The Mediating Role of Happiness at Work. Frontiers in Psychology, 10, 1-10.

Seligman, Martin. (2011). Flourish. Nicholas Brealey Publishing.

Warr,P.B. (2007). Work, Happiness, and Unhappiness. New York: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28