การศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาล ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พิมพรางค์ ศรีทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, พรหมวิหาร 4

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย จำนวน 36 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า  ตามวิธีของลิเคอร์ท ซึ่งมี 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.451 ถึง 0.839  ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.975  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที,(t–test,แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F – test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบ LSD และวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า

  1. ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านอุเบกขา และด้านกรุณา รองลงมาคือ ด้านมุทิตา ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นต่ำสุด คือด้านเมตตา
  2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอาชีพ โดยภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามรายได้/ต่อเดือน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. แนวทางในการส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของสมาชิกเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พบว่า เทศบาลตำบลนครชัยศรี ควรจัดให้มีโครงการส่งเสริมกิจกรรมเป็นประจำทุกปี ที่เกี่ยวกับบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ โดยมีวิทยากร ให้ความรู้แก่ประชาชนโดยทั่วถึง ควรมีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ มีกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป และเทศบาลควรจัดให้มีโครงการอบรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่ชุมชน เพื่อแก้ปัญหาทางจริยธรรม และเพื่อพัฒนาส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมในสังคมต่อไป

References

กิตติยา สุขเกษม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักพรหมวิหารธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

เทศบาลตำบลนครชัยศรี. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570) แก้ไขครั้งที่ 1/2566. นครปฐม: ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ เทศบาลตำบลนครชัยศรี.

ธวัชชัย ตรีวรชัย, สำราญ โคตรสมบัติ, กำธร เพียเอีย และชฎาธาร โอษธีศ (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(1), 71-81.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประวิต เอราวรรณ์. (2551). วิจัยการศึกษาเบื้องต้น. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธงชัย สันติวงษ์. (2542). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์.

ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำ และผู้นำ กลยุทธ์ Leadership and Strategic Leader. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ.ปยุตโต). (2535). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฏก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

_______. (2556). ภาวะผู้นำความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์มงคลชัยพริ้นติ้ง.

พระมงคล สิริมงฺคโล. (2559). การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอลอง จังหวัดแพร่. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมนัส อคฺคธมฺโม. (2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พงษ์ศักดิ์ บุบพิ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด เลิศไพฑูรญ์ และ มรุต วันทนากร. (2546). แนวคิดว่าด้วยฝ่ายบริหารเข้มแข็งกับการเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีโดยตรงในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำ แบบโลกาภิวัตน์: แนวคิดและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นานาวิทยา.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความสอดคล้อง (IOC). นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28