กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมตามทัศนคติ ของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาสมพนธ์ รุจาคม (ขนฺติโก) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การปกครองคณะสงฆ์, อปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมตามทัศนคติของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติในการใช้กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้กลยุทธ์ การปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ พระสังฆาธิการทุกระดับในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร จำนวน 95 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติการบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่า (t–test) และ (One Way ANOVA/F–test) และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยสรุปเป็นข้อความบรรยาย (Descriptive) ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์และจดบันทึก

 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า พระสังฆาธิการส่วนมากมีอายุ 46 - 55 ปี ร้อยละ 57.9 และมีพรรษา 16 – 25 พรรษา ร้อยละ 40.0 ส่วนมากมีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 56.8 และมีตำแหน่งทางปกครองเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสร้อยละ 68.4 ส่วนมากมีประสบการณ์ในการปกครองมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 48.4

          2) กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมตามทัศนคติของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความเหมาะสมเรียงลำดับคือ ด้านการปกครอง รองลงมาคือ ด้านการศาสนศึกษา ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์ ตามลำดับ

           3) เปรียบเทียบทัศนคติในการใช้กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสังฆาธิการกรุงเทพมหานครที่มีอายุ พรรษา ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางปกครอง และประสบการณ์ในการปกครองต่างกัน มีกลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมตามทัศนคติ รวมทั้ง 6 ด้าน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

          4) แนวทางการใช้กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร พบว่า คณะสงฆ์กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญในการปกครองตามหลักอปริหานิยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพราะว่าเรื่องของการปกครอง จะมีปัญหาหลายอย่าง เนื่องจากพระสงฆ์อยู่ด้วยกันมาก เพราะฉะนั้นความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระธรรมวินัย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากคณะสงฆ์ไม่คอยหมั่นประชุมกัน และไม่มีความพร้อมเพรียงกัน ต่างฝ่ายต่างทำตามความชอบใจของตนแล้ว การปกครองคณะสงฆ์จะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญ แต่เมื่อใดก็ตาม คณะสงฆ์หมั่นประชุมกันเป็นนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน เมื่อนั้นคณะสงฆ์ก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อคณสงฆ์มีการประชุมอยู่เป็นนิตย์ และพร้อมเพรียงกันประชุม ตลอดจนพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำร่วมกัน ทัศนคติในการใช้กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร ย่อมมีความเหมือนกัน เพราะอยู่ภายใต้กฎกติกาข้อตกลงเดียวกัน พูดง่ายๆ คือ ปกครองคณะสงฆ์ภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ไม่นอกลู่นอกทางหรือนอกกรอบพระธรรมวินัย และให้ความเคารพเจ้าคณะผู้ปกครอง ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาตามที่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนสั่งตามพระธรรมวินัย เมื่อคณะสงฆ์ปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่นอกลู่นอกทาง ให้ความเคารพเจ้าคณะผู้ปกครองหรือผู้บังคับบัญชาเหนือตนและเชื่อฟังถ้อยคำของท่าน อีกทั้งไม่ลุอำนาจต่อตัณหา คือ ความยากที่เกิดขึ้น การปกครองคณะสงฆ์ก็จะเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

References

กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2557). การวางแผนและการติดต่อประสานงานเชิงพุทธ: สังคหะวัตถุ 4 เครื่องมือการวางแผนและการติดต่อประสานงานสู่ความสำเร็จ. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 25-31.

นริศ ประนมชัย. (2559). การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม 7. ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 1(1), 1-15.

พระครูวินัยธรเอนก เตชวโร. (2559). การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ตามทัศนะเชิงพุทธบูรณาการ. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 461-473.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28