การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก

ผู้แต่ง

  • คมกฤษ จิตแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเลือกตั้ง, ผู้แทนราษฎร, การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2566, โรงเรียนนายสิบ ทหารบก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก 2) เพื่อเปรียบเทียบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก และ
3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 232 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า 1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรณรงค์หาเสียง ด้านนโยบายพรรคการเมือง ด้านพรรคการเมือง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบกที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และชั้นยศต่างกัน มีความคิดเห็นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 โดยรวมไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปีพุทธศักราช 2566 ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก คือ ควรเปิดโอกาสให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีโอกาสเข้ามาพบปะพูดคุย แสดงวิสัยทัศน์ภายในโรงเรียน ควรมีการนำนโยบายของพรรคต่าง ๆ มาวิเคราะห์กันในห้องเรียน เพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจ และควรประชาสัมพันธ์พรรค หรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ ผ่านเพจของโรงเรียน ตามลำดับ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2546). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น : หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

สนิท จรอนันต์. (2545). รัฐบาลทำงานอย่างไร. กรุงเทพมหานคร : พี.เพรส.

สัมฤทธิ์ราชสมณะ. (2530). กระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2564). การเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งกับทิศทางการเมืองไทยในอนาคต. ใน กองบรรณาธิการสำนักกฎหมาย : บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการ (หน้า 22). กรุงเทพมหานคร : จุลนิติ.

ธนภูมิ โภชน์เกาะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 5 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(1), 1.

พรรณรัตน์ ดิษฐ์เจริญ และคณะ. (2563). ปัญหาระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบผสม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 169-197.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2565). ระบบเลือกตั้งเพื่อลดความขัดแย้ง และส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตย. ใน รายงานการวิจัย วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. สถาบันพระปกเกล้า.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

สถาบันพระปกเกล้า. (2566). กิจกรรมของสถาบันพระปกเกล้าในช่วงการเลือกตั้งปี 2566: “KPI Election Forum : เลือกตั้ง 66 อนาคตประเทศไทย”. เรียกใช้เมื่อ 11 กันยายน 2566 จากhttps://www.kpi.ac.th/uploads/pdf/pmOtg09caIpoOAbQmAMwXGTAVdqUbzO2FdzEXfN4.pdf.

Today writer. (2566). คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงเลือกตั้ง 66 คนออกมาใช้สิทธิมากที่สุดในประวัติศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2566 จาก https://workpointtoday.com/election66-result/.

โรงเรียนนายสิบทหารบก. (2566). SAR รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนนายสิบทหารบก. (สำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28