ทัศนคติของประชาชนต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ เสนบุญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ผลกระทบ, รัฐประหาร พ.ศ. 2557, ตำบลทวีวัฒนา จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 : 3) เพื่อเสนอแนะทัศนคติของประชาชนต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 : เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 378 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

1) ทัศนคติของประชาชนต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลทวีวัฒนา จังหวัดนนทบุรี โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ รองลงมา คือ ด้านความมั่นคง และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านประชาธิปไตย

          2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรีที่รายได้ต่างกัน มีทัศนคติต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ในเขตตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทัศนคติของประชาชนต่อผลกระทบจากการทำรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลทวีวัฒนา จังหวัดนนทบุรี คือ ควรยึดหลัก อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนไม่ควรมีการทำรัฐประหาร และไม่ควรเกิดรัฐประหารขึ้นอีก

References

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2550). “ข้ออ้าง” การปฏิวัติ-รัฐประหาร : กบฏในการเมืองไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น : หจก. ขอนแก่นการพิมพ์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

อัศน์อุไร เตชะสวัสดิ์. (2548). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีวี แอลการพิมพ์.

วรรณทิพา นุชลำยอง และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2563). ผลกระทบของรัฐประหารปี 2557 ต่อการจัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 99-108.

เจตริน เชยประเสริฐ. (2563). ทัศนคติของประชาชนต่อการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2557 : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองปราจีนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธนวัฒน์ ศิริสังข์ไชย. (2564). ทัศนคติของประชาชนต่อการรัฐประหาร : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุชญา ชูพูล. (2560). ผลกระทบของเหตุการณ์ทางการเมืองต่อผลการดำเนินงาน และความเสี่ยงของกิจการ กรณีเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2556-2557. ใน สารนิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพงษ์ ผลบูรณ์. (2557). เปรียบเทียบข้ออ้างการทำรัฐประหาร 3 ครั้ง: 23 กุมภาพันธ์ 2534, 19 กันยายน 2549, 22 พฤษภาคม 2557. ใน สารนิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสาวลักษณ์ ณ นคร. (2565). ได้ทำการวิจัยเรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการรัฐประหาร

พ.ศ. 2557 : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธนาพล อิ๋วสกุล. (2566). ความล่มสลายของสถาบันรัฐประหาร (ตอนที่ 1) รัฐประหารในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2567 จาก https://www.the101.world/the-end-of-the-coup-institution-1/.

วัชชรา ไชยสาร. (2552). พัฒนาการมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและพหุการเมือง : การเมืองภาคประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2567 จาก https://www.parliament.go.th.

วัลลี นวลหอม และคณะ. (2563). จากเหตุการณ์รัฐประหาร 2557 อันนำไปสู่เผด็จการอำนาจนิยม. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2567 จาก https://publication.npru.ac.th.

สมคิด พุทธศรี. (2563). เลือกตั้ง 2566: ถึงเวลาคืนการเมืองให้กับนโยบายสันติภาพชายแดนใต้ กับ ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2567 จาก https://www.the101.world.

สุบิน ยุระรัช. (2550). ทฤษฎีการวัดทัศนคติ (Theory of Attitude Measurement). เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2567 จาก https://www.bloggang.com.

องค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น-2566-2570. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2567 จาก http://r01.ldd.go.th/data/B2.pdf.

คณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดนนทบุรี. (2566). สรุปจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำบลทวีวัฒนา จังหวัดนนทบุรี. (สำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28