การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ไพวัลย์ เสนบุญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ทหารราบ, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหารกองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร 3) เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 133 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง รองลงมา คือ ด้านการรับฟังข่าวสารทางการเมือง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการร่วมรับฟังนโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง

          2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กำลังพลกองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานครที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และชั้นยศทางทหารต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร คือ การเลือกตั้งควรยึดนโยบายมากกว่าตัวบุคคล, การรับฟังข่าวสารทางการเมืองควรใช้การคิดวิเคราะห์มากกว่าความเชื่อ ความชอบ หรือความชัง, ควรออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง และมีส่วนร่วมในการนับคะแนน หรือร่วมตรวจสอบในประเด็นต่าง ๆ ของการเลือกตั้ง

References

คชาญ สุวรรณมณี. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2540). หลักการพัฒนาชุม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

จักรี พรหมแก้ว. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สอดคล้องกับ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของข้าราชการทหารบก. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 10(1), 25-36.

พิสิฐพงศ์ สีดาว. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 9(1), 1-8.

เกียรติพนธ์ ประทุมรัตน์. (2547). ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร : ศึกษากรณีกรมการทหารช่างจังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทิดศักดิ์ ฤทธิชัย. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรม. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ศึกษาเฉพาะกรณีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัตนา บัวนาค. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการบริหารงานขององค์การ บริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศักดิ์ชัย จันทนา. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลเปร็งอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน สารนิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไทยพีบีเอส. (2566). ผบ.ทบ.ยันให้อิสระกำลังพลใช้สิทธิเลือกตั้ง – หาเสียงในค่ายต้องยึดระเบียบ. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/325658.

ไทยรัฐ. (2562). "เลือกตั้ง 2562" : กกต.สอบคลิปทหารส่องคูหา. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.youtube.com/watch?v=wmEwZgKs9FA.

พีพีทีวี. (2566). เลือกตั้ง 2566 : ผบ.ทบ. สั่งกองทัพวางตัวเป็นกลาง ออกกฎเหล็ก “5 ทำ - 5ไม่”. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/news//192197.

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2566). วิสัยทัศน์ ผู้บังคับบัญชา. เรียกใช้เมื่อ 21 สิงหาคม 2566 จาก https://www.tdc.mi.th/.

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2566). กำลังพลหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (สำเนา)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30