การศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก ในเขตตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การศึกษา, การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566, ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก, จังหวัดนครปฐมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก 2) เพื่อเปรียบเทียบการศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 244 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการรณรงค์หาเสียง รองลงมา คือ ด้านการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร
2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน
3) ข้อเสนอแนะแนวทางการศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก คือ อยากให้เจ้าหน้าที่ในเขตเลือกตั้งที่มาจากภาคประชาชน และควรผลัดเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง, อัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งให้รวดเร็วมากขึ้น และอยากให้มีการคัดกรองคุณสมบัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งให้เข้มข้น และมีความเที่ยงธรรมมากกว่าเดิม
References
กตัญญู แก้วหานาม และคณะ. (2562). New Voter หรือ First Time Voter. เรียกใช้เมื่อ 29 สิงหาคม 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=New_Voter_%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%
B8%B7%E0%B8%AD_First_Time_Voter.
จิรายุ ทรัพย์สิน. (2540). ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร: ศึกษาเฉพาะนิสิตปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เชษฐา ทองยิ่ง. (2564). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566 จาก https://parliamentmuseum.go.th.
ณัชปกร นามเมือง. (2566). ทวนปัญหา ‘เลือกตั้ง 62’ กับเหตุผลที่ประชาชนควรไปจับตาเลือกตั้งที่หน้าคูหา. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566 จาก https://plus.thairath.co.th/topic/speak/103123.
ประชาไท. (2566). เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ’66. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566 จาก https://prachatai.com/journal.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.
พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2562). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น.
พัชสิรี ชมภูคำ และณัฐธิดา จักรภีร์ศิริสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(165), 1-18.
รัฐสภาไทย. (2561). ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2566 จาก https://www.parliament.go.th.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2566 จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution.
ราชกิจจานุเบกษา. (2566). พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2566 จาก https:// www.accon.co.th /act/regarding-the-election-of-members-of-the-house-of-representatives-no-2-2566/.
ลัคนา ถูระบุตร และบัญชา วิทยอนันต์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรณีศึกษา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(3).
สมบัติ จันทรวงศ์. (2536). เลือกตั้ง วิกฤต : ปัญหาและทางออก. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.
สติธร ธนานิธิโชติ. (2561). บทบาทคนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน – ความหวังหรือความฝัน. เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2566 จาก https://prachatai.com/journal/2018/10/79100.
สำนักทะเบียน อำเภอพุทธมณฑล. (2566). บัญชีสรุปบุคคลตามช่วงวันเดือนปีเกิด หรือช่วงอายุ (เพศชายและเพศหญิง) อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อายุ 18 ปี ถึงอายุ 22 ปี. นครปฐม: สำนักทะเบียน อำเภอพุทธมณฑล. (สำเนา)
อัมพกา ชมพู่ และคณะ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2).
อรดี เรียงภักดี. (2565) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
PPTV online. (2566). เลือกตั้ง 2566 : กกต.เปิด 5 จังหวัด คนมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากสุด. เรียกใช้เมื่อ 1 กันยายน 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/news//198407.
Today Writer. (2566). ข่าวการเมือง : กกต.แถลงเลือกตั้ง 66 คนออกมาใช้สิทธิมากที่สุด
ในประวัติศาสตร์ ยืนยันผล ‘ก้าวไกล’ ชนะอันดับ 1. เรียกใช้เมื่อ 1 กันยายน 2566 จาก https://workpointtoday.com/election66-result/.