การนำนโยบายส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมไปปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรมในองค์การบริหารส่วนตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พระทวีรักษ์ ชนรตโน (แก้วดวงดี) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, นโยบาย, สัปปุริสธรรม 7

บทคัดย่อ

จากสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัญหาด้านวัฒนธรรมที่มีความเสื่อมโทรม เป็นเรื่องราวที่หลายชุมชนในประเทศ กำลังเผชิญหน้า ซึ่ง ปัญหาเหล่านี้ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ขาดการสนับสนุน การละเลยของผู้นำในเขตพื้นที่

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาการนำหลักหลักสัปปุริสธรรมไปใช้ในการ ส่งเสริม สนับสนุน ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ของบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่ต่างกัน 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำหลักสัปปุริสธรรมไปใช้ในการ ส่งเสริม สนับสนุน ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ได้แก่ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่อาศัยอยู่ในเขต ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จาก 13 หมู่บ้านจำนวน 365 คน โดยการเปิดตารางสำเร็จของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 35 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’)

          ผลการวิจัย พบว่า

  1. การนำนโยบายส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมไปปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรม7ขององค์การบริหารส่วน ตำบลโคกตาล อำเภอภู สิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านอัตถัญญุตา (เป็นผู้รู้จักผล) ด้านกาลัญญุตา (เป็นผู้รู้จักกาลเวลา) ด้านมัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักประมาณ) ด้านปริสัญญุตา (เป็นผู้รู้จักชุมชน) ด้านธัมมัญญุตา (เป็นผู้รู้จักเหตุ) ด้านปุคคลปัญญุตา (เป็นผู้รู้จักบุคคล) ตามลำดับ
  2. ประชาชนที่มี ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารและการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกตาล อำเภอภู สิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มี เพศ ต่างกัน และมีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารและการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม7 ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกตาล อำเภอภู สิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมไม่แตกต่างกัน
  3. ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการนำนโยบายส่งเสริมศานาและวัฒนธรรมไปปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ การนำนโยบายส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมไปปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลโคกตาล ควรรักษาและพัฒนาต่อไปอีกให้ถึงที่สุด โดยส่งเสริมสนับสนุนทั้งด้านศาสนาและวัฒนธรรมในท้องถิ่นชุมชนให้เกิดการเห็นคุณค่าและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นให้นำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในชุมชน

References

พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ และ สิรภพ สวนดง. (2539). หลักสัปปุริสธรรมเพื่อการบริหารจัดการชุมชน. ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ครั้งที่ 1.

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายี). (2509). สัปปุริสธรรม,หนังสืออนุสรณ์เนื่องในโอกาสงานฌาปนกิจศพนายชัย. กรุงเทพมหานคร.

ธเนศวร์ เจริญ. (2548). “100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2540. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโคกตาล. (2565). ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์กร. เรียกใช้เมื่อ 11 มกราคม 2566 จาก https://khokthan.go.th/page/view/62.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2547). หนังสือธรรมนูญแห่งชีวิต. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

อุดมพร ชั้นไพบูลย์. (2555). สัปปุริสธรรม หลักธรรมเพื่อการสงเคราะห์. วารสารรามคำแหง, 31(1),29.

อัญญา ศรีสมพร. (2549). การใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธของหัวหน้าภาควิชาคณะบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28