แนวทางการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล อมรปิยะกฤษฐ์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • พิเศษ ชัยดิเรก มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การลดใช้พลาสติก, มลภาวะ, จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิด  มลภาวะ ฯ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ (4) เพื่อศึกษาแนวทางการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน ได้มาโดยการกำหนดตัวอย่างแบบโควต้า และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนส่วนมาตรฐาน t-test  One-way ANOVA การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 46 ปีขึ้นไป ระดับ การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน สถานภาพสมรส มีรายได้ต่อ เดือนอยู่ระหว่าง 15,001-25,000 บาท (1) ผลวิจัยด้านเพื่อศึกษาการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยในการลดใช้พลาสติก ในด้านด้านทัศนคติ มาตรการทางกฎหมาย ในภาพรวม มีการลดใช้พลาสติกอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ในภาพรวม มีการลดใช้พลาสติกอยู่ในระดับมาก ส่วนการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ ในด้านการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ในภาพรวม มีการลดใช้พลาสติกอยู่ในระดับมาก การหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย ในภาพรวม มีการลดใช้พลาสติกอยู่ในระดับมากที่สุด การซ่อมแซมให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ในภาพรวม มีการลดใช้พลาสติกอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผลวิจัยด้านเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผลวิจัยพบว่า เพศ และอายุ ในภาพรวมของการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ในภาพรวมของการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) ผลวิจัยด้านเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ ผลวิจัยพบว่า เพศ และอายุ ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สถานภาพ อาชีพ และรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนระดับการศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ผลวิจัยด้านเพื่อศึกษาแนวทางการลดใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ฯ ผลวิจัยพบว่า ในภาพรวมประชาชนให้ความสำคัญและตระหนักถึงการลดใช้พลาสติกในระดับที่มาก มีการการลดใช้พลาสติกอย่างแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากการเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ปฏิเสธการรับถุงพลาสติกเกินความจำเป็น เมื่อซื้อสินค้าในปริมาณไม่เยอะ และในบางครั้งก็พกถุงพลาสติกติดตัวไว้ทดแทนการรับถุงพลาสติกเพิ่ม เป็นต้น เทศบาลได้ดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่ต้นทางภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จังหวัดเพชรบุรีสะอาด มีจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทางเพื่อนำไปจัดการอย่างเหมาะสมตามประเภทของขยะ ส่งเสริมชุมชนนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ บรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570 จัดทำเทศบัญญัติเทศบาลตำบลบางเก่า เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ.2556 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2563 อีกทั้งยังดำเนินงานขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติกภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561–2573

References

กนิษฐา รัตนสินธ. (2562). การลดใช้พลาสติกของประชากรในจังหวัดฉะเชิงเทรา. เรียกใช้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2567. จาก http://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun17/ 6114070022.pdf

กัญชริการ์ สารขัติ. (2559). พฤติกรรมการคัดแยกขยะของครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. เรียกใช้เมื่อ 4 พฤษภาคม 2567. จาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/12132/1/Fulltext.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ชยกร สุวรรณจรัส. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2567.จาก https://buuir.buu.ac.th/jspui/bitstream/1234567890/10892/1/Fulltext.pdf

จอมจันทร์ นทีวัฒนา และวิชัย เทียนถาวร. (2560). ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การลดขยะชุมชน แม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 25(2),315.

จอมตวัญจ์ อาคมานนท์ และนาวาอากาศเอกปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ความรู้และการรับรู้ที่มี ต่อพฤติกรรมในการจัดการขยะพลาสติก ของคนกรุงมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย.

ณัฏฐ์วัฒน์ นิมิตมงคล. (2559). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขต สวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. จาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/11830/1/ Fulltext.pdf

ดวงสมร ฟักสังข์. (2555). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอยของ ครัวเรือน ในชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร.

ธัญสุดา อรรถพิจารณ์. (2563). การบริหารจัดการพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชน ในตลาดสดบริบูรณ์ของเทศบาลตำบลกบินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อช่วยบรรเทา ปริมาณขยะพลาสติกตามแนวคิดของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy). เรียกใช้เมื่อ 22 พฤษภาคม 2567. จาก www.ba-abstract .ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/428.ru.

นาดียา กูโน และคณะ. (2563). บทความ: การรับรข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การใช้ถุงพลาสติกของ ประชากรในจังหวัดสงขลา. เรียกใช้เมื่อ 16 พฤษภาคม 2567. จาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=1288& context=cuej.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของ เทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. เรียกใช้เมื่อ 29 เมษายน 2567. จาก https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/file/55930240.pdf

ปาจรีย์ หละตำ. (2550). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครอบครัวริมทะเลสาบสงขลาเทศบาลตำบลสิงหนคร จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์คหศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาครอบครัวและสังคม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ผกามาศ รินรักษา. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในเขตตำบล หนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัย บูรพา.

พรทิพย์ บุญเพ็ง. (2554). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. ใน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มลฤดี ตรีวัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลสำเร็จต่อการคัดแยกขยะชุมชน : กรณีศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒน บริหารศาสตร์.

รัชต์พริษฐา พันธุ์ดี และคณะ. (2555). ความรู้และพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของครอบครัว ในจังหวัดนนทบุรี. ใน งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีรกาล อุปนันท์. (2556). การศึกษาแนวทางการกำจัดขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมขององค์การ บริหารส่วนตำบล โนนยอ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. งานวิจัยหลักสูตร ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. สาขาวิศวกรรมโยธา. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สิริกร นามลาบุตร และคณะ. (2565). การศึกษาแนวทางการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน เพื่อสุขภาวะ ของประชาชนในเทศบาลตาบลโพนพิสัย. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์ Journal of mcu loei review, 3(2).

อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์ และวิษณุ เหลืองลออ. (2557). เจตคติและพฤติกรรมการลดใช้พลาสติก ของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(1), 70-88.

อารยาโยคาพจร และจิราพร ระโหฐาน. (2564). ความรูและพฤติกรรมการจัดการขยะที่มีผลตอคุณภาพการบริการของเทศบาลตําบลบานบึง จังหวัดชลบุรี.วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแหงแปซิฟค, 7(2), 160-176.

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2564). วิกฤตขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหารุนแรงที่ ทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญและต้องเร่งแก้ไข ร่วมมือกัน เพราะขยะพลาสติกได้สร้าง ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ โดยฉพาะขยะทะเล. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.nam.or.th/nsm/th/node/5021

เอกนรินทร์ กลิ่นหอม. (2553). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขต เทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28