การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่น ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
หลักไตรสิกขา, การประยุกต์ใช้, การบริหารปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่น ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่น ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่น ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการวางแผน รองลงมา คือ ด้านการนำ ด้านการจัดองค์การ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการควบคุม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก จำนวน 1 ด้าน และระดับมากที่สุด จำนวน 3 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 2) ผลเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่น ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่นในเขต
อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า บุคลากรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เรียงลำดับจากความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก ได้แก่ ควรมีการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารปกครองท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในการวางแผนโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการจัดการองค์การโดยปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานขององค์กร และควรมีการนำองค์การควบคู่กับการควบคุมโดยการตรวจติดตามและรายงานงานผลการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานโครงการ
References
เดชชาติ ตรีทรัพย์. (2559). การนำหลักไตรสิกขามาใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนเทศบาลตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 3(2),14-26.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโล. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ธีรวิทย์ ทองนอก. (2561). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลเมืองหนองปรือ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประทาน คงฤทธิศึกษาการ. (2556). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนทบุรี.วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 109-110.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2555). แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐ : การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ตัวชี้วัด. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http ://www.wiruch.com/
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุผล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ.
ศุภกร จันทราวุฒิกร. (2562). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ของผู้บริหารและหัวหน้างานองค์กร. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2557). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มิตรภาพการพิมพ์และสตูดิโอ.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอหนองพอก. (2565). รายงานบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2565. ร้อยเอ็ด : สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอหนองพอก.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอหนองพอก. (2565). รายงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอหนองพอก ประจำปี 2565. ร้อยเอ็ด : สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอหนองพอก.
อนุจิตร ชิณสาร. (2563). การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(1), 83-84.
Carroll, Stephen. J.; & Gillen, Dennis. J. (1987). Are the Classical Management Functions Useful in Describing Managerial Work?. The Academy of Management Review, 12(1), 28-87.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.