ผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิค STAR ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • สุวิชา คำสิทธิ์ มหาหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • เนติ เฉลยวาเรศ มหาหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • สุวัทนา สงวนรัตน์ มหาหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิค STAR, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ก่อนเรียนและหลังเรียนและกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิค STAR แบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยเชิงทดลอง ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนลานสัก กลุ่มที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2  จำนวน 126 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิค STAR แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้น ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทดสอบหลังเรียนและให้นักเรียนตอบแบบสอบถามวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกสัน 

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นร่วมกับเทคนิค STAR เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก

References

จุฬาลักษณ์ ใจอ่อน, และศศิวิภา พระสุธาพิทักษ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกาลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการ

เรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPS). วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฎอนี,

(25), 137-144.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันยกานต์ ชีแก้ว. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับเทคนิคคู่คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัฐนันท์ เต็มศรี, และอนุวัตร จิรวัฒนพาณิช. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5STEPs) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2556). วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรู้ความสามารถตามจุดเน้นของ

สพฐ. กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน. http://www.edu.nu.ac.th/news/2566/p3.ppt.

วาวรินทร์ พงษ์พัฒน์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น

โดยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัด

ศรีสุทธาราม จังหวัดสมุทรสาคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วาสนา ปิ่นทอง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธี STAR วิชาคณิตศาสตร์

เรื่องลำดับเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [การค้นคว้าอิสระ กศ.ม.] สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิภาดา นาเลา. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น เพื่อการเรียนรู้ QSCCS).บทความวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). ตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2551 http://www.fth1.com/uppic/10105600

เหิมหาญ เสนามนตรี และยุทธพงศ์ ทิพยชาติ. (2564). การศึกษาการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ยุทธวิธี STAR เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [Paper presentation], การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.

เอมฤดี สิงหะกุมพล. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR

รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 7

ฉบับที่ 1. นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

Maccini, P and Gagnon, J. (2006). Mathematics strategy instruction (SI) for middle

school students with learning disabilities.

http://www.k8accesscenter.org/trainingresources/massini.asp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30