การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ดุจเดือน สมัครการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พชรเดช เสมานู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้, หลักสังคหวัตถุ 4, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย, อการค้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ F-test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านทาน (การให้) ด้านปิยวาจา (การพูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน) ด้านอัตถจริยา (การทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น) และด้านสมานัตตตา (การวางตัวสม่ำเสมอ) 2) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านทาน เจ้าหน้าที่ควรอาสาติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้านปิยวาจา เจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ประสบภัยด้วยการพูดจาที่ไพเราะ เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้ประสบภัย ด้านอัตถจริยา เจ้าหน้าที่ควรปฏิบัติงานในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้านสมานัตตตา เจ้าหน้าที่ควรมีความเต็มใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

References

กมลวรรณ แสนคำลือ. (2557). การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์. (2521). ทำเนียบหอการค้าและสมาคมการค้า พ.ศ. 2519. กรุงเทพมหานคร: กองนโยบายการพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์.

งานทะเบียนราษฎร เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. (2564). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://roietmunicipal.go.th/roiet/ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล/

จิตรา แสงผาบ. (2557). การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุรีริยาสาสน์.

เบญจวรรณ สีตะระโส. (2557). การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พระประเสริจ สนฺตจิตฺโต (คงลำ). (2558). การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิศิษฐ์ ฐานุตฺตโร (แซ่เจียง). (2559). การให้บริการสาธารณะตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี กัลชาญพันธุ์. (2560). การให้บริการของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรืองศักดิ์ รัตนโภคาสถิต ผู้ให้สัมภาษณ์. 30 สิงหาคม 2564. ณ หอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

สุภชัย โพธิ. (2558). ประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

หอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). บริบทหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.thaifranchisecenter.com/links/show.php?id=273

อนงค์นาฎ แก้วไพฑูรย์. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17