กระบวนการเรียนรู้ด้านดนตรีของนักดนตรีอาชีพ
คำสำคัญ:
นักดนตรีอาชีพ, ผับบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ทักษะทางด้านดนตรีของนักดนตรีอาชีพ โดยเก็บข้อมูลจากนักดนตรีจำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า นักดนตรีเรียนรู้ด้านดนตรีแบบนอกระบบส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นหลัก โดยศึกษาจากสื่อสังคมออนไลน์ หนังสือ วิดีโอหรือวีซีดีเพลงการแสดงดนตรี นอกจากนี้ยังเรียนรู้จากผู้อื่นที่สนใจด้านดนตรีหรือนักดนตรีอาชีพ อาชีพนักดนตรีเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักดนตรีที่สามารถยึดเป็นอาชีพเลี้ยงตัวและครอบครัวได้ จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจเพื่อเข้าสู่อาชีพนี้ นอกจากนี้ประสบการณ์การปรับตัวและพัฒนาตนเองจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อให้สามารถดำรงอาชีพการเป็นนักดนตรีในผับให้มั่นคงต่อไป
ที่ผ่านมาการศึกษาทางด้านดนตรีมักเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาด้านดนตรีพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่แต่การศึกษาอาชีพนักดนตรีที่เรียนรู้ด้วยตัวเองแบบนอกระบบจนสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้นั้นยังมีการศึกษาน้อยมาก ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้านดนตรีของนักดนตรีอาชีพ เพราะเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับชั่วโมงในการทำงาน และในขณะเดียวกันผู้ที่ประกอบอาชีพนี้เป็นผู้ที่ทำให้ผู้อื่นมีความสุขด้วยการสร้างสุนทรียภาพทางด้านจิตใจและอารมณ์ โดยใช้ศิลปะทางด้านดนตรีเป็นสื่อ ซึ่งผลการศึกษาจะทำให้ทราบถึงกระบวนการเรียนรู้ทักษะด้านดนตรีนอกระบบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับเยาวชน หรือผู้ที่สนใจดนตรีได้ใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ทักษะด้านดนตรีอีกช่องทางหนึ่ง และสำหรับผู้ที่สนใจในการประกอบอาชีพนักดนตรี
สรุปผลการศึกษาการเรียนรู้วิชาการทางด้านดนตรีของนักดนตรีอาชีพ พบว่า นักดนตรีจะไม่นิยมเรียนด้านวิชาการดนตรี เนื่องจากการเรียนวิชาทฤษฎีดนตรีสากลเรียนรู้ได้ยากต้องมีครูผู้เชี่ยวชาญและมีเวลาในการเรียนถึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ และเป็นวิชาที่มีสูตรการคิดคำนวณและการเล่นดนตรีอาชีพนักดนตรีคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้โน้ตเพลง เพราะเน้นการแกะเพลงมากกว่า ดังนั้นนักดนตรีอาชีพจึงสนใจการเรียนรู้ด้านทักษะทางด้านดนตรีมากกว่า โดยนักดนตรีในอาชีพมีการเรียนรู้ทักษะทางด้านดนตรี 3 วิธีด้วยกัน คือการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จากผู้อื่น และการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาดนตรีเพิ่มเติม
References
ณรุทธ์ สุทธจิตร์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกรี เจริญสุข. (2544). พรสวรรค์ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: Music Talks.
บัวรอง พลศักดิ์. (2542). กระบวนการสืบสานดนตรีโปงรางในจังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวัฒนธรรมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2552). ข้อตกลงเบื้องต้นก่อนจะเป็นนักศึกษา กศน. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2567 จาก http://www.moe.go.th.