การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • พัชรา จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • คณิต สุขรัตน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้, , โรงเรียนอนุบาลเอกชน, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน อำเภอคลองหลวง 2) เปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน  จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ครู จำนวน 242 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครทซี่และมอร์แกน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นในการสุ่มและสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน อำเภอคลองหลวง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้  ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 2) ครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน อำเภอคลองหลวง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

References

กนกกาญน์ จัทรวงศ์.(2555). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 2-5ปี). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่ องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพมหานคร: สหมิตร พริ้นติ้แอนด์พับลิสซิ่ง.

จารุวรรณ์ สุพีรพงศ์.(2556). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น อำภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

นุชตรี พูลเพิ่ม. (2553). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดอำนาจเจริญ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เบญญาภา คงมาลัย. (2551). ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สั่งกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2550. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา.

สักรินทร์ บุญกว้าง. (2551). ความพึงพอใจของครูต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอวิเชียรบุรี สังกัดสำนกงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. ในวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุทธิชา มาลีเลิศ. (2551). รายงานผลการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์สาหรับเด็ก วัยอนุบาลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาคใต้. กรุงเทพมหานคร.

สุพรรณ มณีฤทธิ์. (2555). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17