ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนวัดตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน์ วิภาคธำรงคุณ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • พัชรา จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นของผู้ปกครอง, การบริหารวิชาการ, โรงเรียนวัดตาล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนวัดตาล  และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนวัดตาล ประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดตาล จำนวน 375 คน นำมาคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนวัดตาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียนด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
  2. 2. ผู้ปกครองที่มีเพศ ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นการบริหารวิชาการของโรงเรียนวัดตาล โดยรวมไม่แตกต่างกัน และผู้ปกครองที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนวัดตาล โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทวี ประครอง. (2552). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิจ แก้วตาบรรเจิด. (2555). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนศูนย์เครือข่าย สถานศึกษาดงผาลาดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

บังอร เดชศรี. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลบานสานฝันสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.). ใน การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแกว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาสารคาม.

ประภาพันธุ์ แก้วโชติ. (2553). การบริหารงานวิชาการระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของ.โรงเรียนศรีธนาพาณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่. ใน งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประมวล คิดคินสัน. (2540). จิตวิทยาสมองมนุษย์ (พรสวรรค์) เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มานพ วงษ์สะอาด. (2547). ความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนในตำบลวังข่อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ยงยุทธ สิมพา. (2542). ความพึงพอใจของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. ใน รายงานการค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมาลี แก้ววิมล. (2547). ความพอใจของครูในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Eductional and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17