ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ครูบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษา ประชากรคือ ครู จำนวน 2,093 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้วิธีเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน พบว่าได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 327 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นและใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ด้านการนิเทศและการประเมินผลด้านการสอน ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียน ด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการประสานงานด้านการใช้หลักสูตร ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน และด้านกาจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้
- ครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของครู โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กาญจนา ตระกูลบางคล้า. (2538). ภาวะผู้นำด้านวิชากาของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนและการพัฒนาบุคลากรทางต้นวิชาการมัธยมศึกษา สังกัตกรมสามัญศึกษา เขดการศึกษาที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหา บัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกื้อกูล แสงพริ้ง. (2553). ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงทพมหานตร กุลุ่มตากสินและกลุ่มมหาสวัสดิ์. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัฒนา อำท้าว. (2548). กาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสาวนีตรี พุทธรัตน์. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชา 218714 การบริหารงาน.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุขเทษม พาพิพิจ. (2542). ศึกษาพฤติกรรมการเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมตึกษาจังหวักหนองบัวลำภู. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา, 1(4), 8-11.
วิรุฬห์จิต ใบลี. (2548). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1-2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.